Ana səhifə

Personal oronoun


Yüklə 311.5 Kb.
səhifə6/6
tarix27.06.2016
ölçüsü311.5 Kb.
1   2   3   4   5   6

Adverbial Particle


Adverbial Particles ได้แก่ คำบุรพบท (Preposition) บางคำที่นำมาใช้ต่อท้ายกริยา (verb) บางตัว แล้วทำให้บุรพบทตัวนั้น Adverb ไป เราจึงเรียกบุรพบทที่ใช้ตามหน้าที่ว่า “Adverbial Particle” แปลว่า หน่วยคำที่ใช้ร่วมกับกริยาแล้วทำหน้าที่เป็น Adverb

Preposition ที่นำมาใช้เป็น Adverbial Particle เท่าที่พบเห็นบ่อยได้แก่ in on up by over away down round back through

Particles เหล่านี้เมื่อนำมาใช้ต่อท้ายกริยาแล้ว แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ


  1. ชนิดที่ใช้ต่อท้ายแล้วให้ความหมายคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ฟังเข้าใจง่าย เช่น

The pupils are writing a ;sentence down.

นักเรียนกำลังเขียนประโยคลงไป



  1. ชนิดที่นำมาใช้ต่อท้ายแล้ว ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม ฟังเข้าใจได้ยากขึ้น เช่น

His offer is good reasonable, so I give in him.

ข้อเสนอของเขามีเหตุผลดีมาก ดังนั้นผมจึงยอมแพ้เขา


ตำแหน่งวางของ Adverbial Particles

หลักเกณฑ์การวาง Adverbial Particles มีดังต่อไปนี้



  1. ถ้าในประโยคไม่มีกรรมตรง (Direct Object)ให้วาง Adverbial Particle ไว้หลังกริยาตัวนั้นโดยตรงเลย เช่น

The teacher has come in the room Please stand up.

คุณครูเข้ามาในห้องแล้ว กรุณายืนขึ้น



  1. ถ้าในประโยคมีกรรมตรง และกรรมตรงนั้นเป็นบุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun) ให้วาง Adverbial Particle ไว้หลังบุรุษสรรพนามซึ่งเป็นกรรมตรงนั้นตลอดไป เช่น

I send him back because he is sick.

ผมส่งเขากลับบ้านเพราะเขาไม่สบาย

3) ถ้าประโยคนั้นมีกรรมตรงซึ่งไม่ใช่บุรุษสรรพนาม แต่เป็นนาม จะวาง Adverbial Particle ไว้หน้านามหรือหลังนาม ที่เป็นกรรมนั้นก็ได้ เช่น
ภาษาพูด Please turn the radio on. กรุณาเปิดวิทยุหน่อย

ภาษาเขียน Please turn on the radio. กรุณาเปิดวิทยุหน่อย



4) Adverbial Particle จะวางไว้หน้าประโยคก็ได้ ถ้าประโยคนั้นเป็นประโยคอุทานแต่หลักเกณฑ์การวางไว้หน้าประโยคมีดังนี้

a) ถ้าประธานของประโยคนั้นเป็นบุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun) ให้วาง Adverbial Particle ไว้หน้า ตามด้วยประธานและกริยา จึงได้ Structure ดังนี้ Adverbial Particle + Subject (ที่เป็นบุรุษสรรพนาม) + Verb เช่น

Away it flew (= It flew away.)

มันหนีไปแล้ว


  1. ถ้าประธานของประโยคไม่ใช่บุรุษสรรพนาม (Non – Personal Pronoun) ให้เอา Adverbial Particle วางไว้หน้าประโยค ติดตามด้วย Verb และพ่วงท้ายด้วยประธาน ตามสูตร

Structure ดังนี้

Adverbial Particle + Verb + Subject

Away flew my hat ( = My hat flew away.)

หมวกของฉัน (ลม) พัดหนีเสียแล้ว



c) อาจใช้ Adverbial Particle ขึ้นต้นประโยคอุทาน ในกรณีที่ประโยคอุทานนั้นไม่มี subject และ verb ก็ได้ เพราะละไว้ในฐานเข้าใจแล้ว ตามสูตร Structure ดังนี้

Adverbial Particle + with + Noun หรือ Pronoun

เช่น Away with them (= You take them away.)

พาหนีไปเสีย

d) ให้วาง Adverbial Particle ขึ้นต้นประโยคอุทานที่แสดงบการขอร้องอย่างเป็นกันเองแต่กรณีนี้จะละประธาน “you” ไว้เหมือนประโยคขอร้องธรรมดาหาได้ไม่ ต้องใส่ you เข้ามาด้วยทุกครั้ง เช่น

In you come. (= Go in, please.)

เชิญข้างในครับ

Adjectives


Adjectives แปลว่า “คุณศัพท์” หมายถึง “คำที่ทำหน้าที่ขยายนาม หรือคุณสมบัติ (ขยายสรรพนามต้องอยู่หลังตลอดไป) เพื่อบอกให้รู้ลักษณะ คุณภาพ หรือคุณสมบัติของนามหรือสรรพนามนั้นว่า เป็นอย่างไร ? เช่น ดี หรือ ชั่ว สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว อ้วนหรือผอม แห้งหรือเปียก เหล่านี้เป็นต้น” เรียกคำเหล่านี้ว่า Adjectives หรือ คุณศัพท์ ได้แก่ คำว่า :-

good ดี wise ฉลาด this นี้

bad ชั่ว,เลว red แดง those เหล่านั้น

tall สูง fat อ้วน short ต่ำ,สั้น

dirty สกปรก thin ผอม white ขาว etc.

Adjective เวลานำไปพูดหรือเขียนมีวิธีใช้อยู่ 2 อย่างคือ : -



  1. เรียงไว้หน้านามที่คุณศัพท์นั้นไปขยายโดยตรงได้ เช่น : -

The thin man can run very quickly.

คนผอมสามารถวิ่งได้เร็วมาก

2) เรียงไว้หลัง Verb to be, look, feel, seem, get, taste, smell, turn, go, appear, keep,

become, sound, grow, etc. ก็ได้ Adjective ที่เรียงตามกริยาเหล่านี้ถือว่าขยายประธาน แต่วางตามหลังกริยา เพราะฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น “Subjective Complement” เช่น : -

I’m feeling a bit hungry. ผมรู้สึกหิวนิด ๆ แล้วนะ

Sugar taste sweet. น้ำตาลมีรสหวาน


  1. เรียงหลังคำนามที่ไปทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยขยายเนื้อความของ

ตัวกรรมนั้น ให้สมบูรณ์ขึ้น Adjective ที่ใช้ในลักษณะเช่นนี้เรียกว่าเป็น ”Objective Complement” เช่น :

Sukit made his wife happy.

สุกิจทำภรรยาของเขาให้มีความสุข


  1. เรียง Adjective ไว้หลังคำนามได้ ไม่ว่านามนั้นจะทำหน้าที่เป็นอะไรก็ตาม ถ้า Adjective ตัวนั้นมีบุรพบทวลี (Prepositional Phrase) มาขยายตามหลัง เช่น : -

A parcel posted by mail today will reach him tomorrow.

พัสดุที่ส่งทางไปรษณีย์วันนี้จะถึงเขาวันพรุ่งนี้

(posted เป็น Adjective เรียงตามหลังนาม parcel ได้เพราะมีบุรพบทวลี by mail today มาขยายตามหลัง)

ข้อยกเว้นการใช้ Adjective บางตัวเมื่อไปขยายนาม

การใช้ Adjective ไปขยายนามหรือประกอบนามตามแบบตั้งแต่ข้อ 1 ถึง ข้อ 4 นั้น หมายถึง Adjective ทั่วไปเท่านั้น แต่ถ้าเป็น Adjective ที่จะกล่าวต่อไปนี้แล้วให้มีวิธีขยายนามหรือประกอบนามได้เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้นคือ ประกอบหน้านาม หรือเรียงหลังกริยา จะใช้ทั้ง 2 อย่างตามอำเภอใจไม่ได้ นั่นคือ : -


  1. Adjective ต่อไปนี้เมื่อขยายนาม ให้ใช้แบบเรียงไว้หลังกริยาเท่านั้น ห้ามใช้แบบเรียงไว้หน้านามโดยเด็ดขาด ได้แก่ : -

sorry เสียใจ afraid กลัว well อยู่ดีสบาย

alive มีชีวิตอยู่ ashamed ละอายใจ worth มีค่า

awake ตื่นอยู่ ill ป่วย alike เหมือนกัน

asleep หลับ aware ระวัง alone โดยลำพัง

content พอใจ unable ไม่สามารถ เป็นต้น เช่น

ถูก : The president is sorry. ประธานาธิบดีมีความเสียใจ

ผิด : This is a sorry president. นี่คือประธานาธิบดีที่เสียใจ


  1. Adjective ต่อไปนี้เมื่อใช้ขยายนามให้เรียงไว้หน้านามโดยตรง ห้ามเรียงหลังกริยาโดยเด็ดขาด ได้แก่ :-

former ก่อน latter หลัง inner ภายใน

outer ภายนอก upper ข้างบน older แก่กว่า

drunken ขี้เมา middle กลาง entire ทั้งหมด

neighboring เพื่อนบ้าน เช่น : -

ถูก : Burma is a neighboring country.

ผิด : Burma is a neighboring.



  1. Adjective ที่ไปขยายสรรพนามผสม (Compound Pronoun) ต่อไปนี้ ให้เรียงไว้ข้างหลังสรรพนามผสมนั้นตลอดไป ได้แก่ : -

someone everybody anything

something everywhere no one

somebody everything nothing

somewhere anyone nowhere

everyone nobody เช่น : -

I have something important to tell you.

(อย่าใช้ : I have important something to tell you. ) ฉันมีบางสิ่งที่จะบอกคุณ
4) Adjective ที่แสดงการวัดขนาดต่าง ๆ ของนาม ต้องวางไว้หลังนามเสมอ เช่น :-

This river is two hundred miles long. แม่น้ำสายนี้ยาว 200 ไมล์

(อย่าใช้ : This river is long two hundred miles. )

5) Adjective ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มาขยายนามเดียวกัน จะวางไว้หน้านามนั้นโดยตรงก็ได้ หรือจะวางไว้หลังนามก็ได้ และหน้า Adjective ตัวสุดท้ายต้องมี and ทาคั่นไว้เสมอ เช่น : -

Thongchan is a witty and wise teacher.

หรือ Thongchan is a teacher, witty and wise.



  1. Adjective ที่เป็นสมญานาม ไปขยายนามที่เป็นชื่อเฉพาะให้วางไว้หลังนามนั้นเสมอ และเขียนด้วยตัวใหญ่โดยมี the นำหน้าทุกครั้งด้วย เช่น : -

King Naresuan, the Great. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

  1. ถ้า Adjective นั้นเป็น Adjective Phrase (คุณศัพท์วลี) หรือ Adjective Clause (คุณานุประโยค) ไปขยายนามใด ให้เรียงไว้หลังนามนั้นตลอดไป เช่น : -

The tall man with his dog is my uncle.

ชายที่มีสุนัขมาด้วยนั้นเป็นลุงฉันเอง

8) Adjective ต่อไปนี้เมื่อไปขยายอยู่หน้านามเอกพจน์ นับได้ ให้ใช้ a นำหน้านามนั้นเสียก่อน แล้วจึงวางคุณศัพท์เหล่านี้ขยายอีกทีหนึ่ง ไดแก่ half, such, too, so, quite, rather, many เช่น :-

He spent half a day on gambling. เขาใช้เวลาเล่นการพนันครึ่งวัน



Such a man cannot be allowed. คนเช่นนั้นไม่สามารถอนุญาตให้ได้
ชนิดของ Adjective

Adjective ในภาษาอังกฤษแบ่งออกได้ 11 ชนิดคือ : -



  1. Descriptive Adjective คุณศัพท์บอกลักษณะ

  2. Proper Adjective คุณศัพท์บอกสัญชาติ

  3. Quantitative Adjective คุณศัพท์บอกปริมาณ

  4. Numberal Adjective คุณศัพท์บอกจำนวนแน่นอน

  5. Demonstrative Adjective คุณศัพท์ชี้เฉพาะ

  6. Interrogative Adjective คุณศัพท์บอกคำถาม

  7. Possessive Adjective คุณศัพท์บอกเจ้าของ

8. Distributive Adjective คุณศัพท์แบ่งแยก

  1. Emphasizing Adjective คุณศัพท์เน้นความ

  2. Exclamantory Adjective คุณศัพท์บอกอุทาน

11. Relative Adjective คุณศัพท์สัมพันธ์

แต่ละชนิดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.1) Descriptive Adjective แปลว่า “คุณศัพท์บอกลักษณะ” หมายถึงคำที่ใช้แสดงลักษณะหรือคุณภาพของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ว่า นามนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ได้แก่คำว่า

Good, bad, tall, short, black, white, fat, thin, clever, foolish, poor, rich, cowardly, pretty, ugly, happy, sorry etc. เช่น : -

The rich man lives in the big home.

คนรวยอาศัยอยู่บ้านหลังใหญ่

2.2) Proper Adjective แปลว่า “คุณศัพท์บอกสัญชาติ” หรือจะเรียกว่า “วิสามัญคุณศัพท์ก็ได้” หมายถึงคำที่ไปขยายนามเพื่อบอกสัญชาติ ซึ่งอันที่จริงมีรูปเปลี่ยนแปลงมาจาก Proper Noun นั่นเอง ได้แก่ : -

Proper Noun Proper Adjective คำแปล

England English อังกฤษ

America American อเมริกา

Thailand Thai ไทย

India Indian อินเดีย

Germany German เยอรมัน

Italy Italian อิตาลี

Japan Japanese ญี่ปุ่น

China Chinese จีน etc.

เช่น : - He employs a Chinese cook.

เขาจ้างกุ๊กชาวจีนคนหนึ่ง



3.3) Quantitative Adjective แปลว่า “คุณศัพท์บอกปริมาณ” หมายถึงคำที่ไปขยายนาม เพื่อให้ทราบปริมาณของสิ่งเหล่านั้นว่า มีมากหรือน้อย (แต่ไม่ได้บอกจำนวนแน่นอน) ได้แก่ :-

much, many, little, some, any, enough, half, great, all, whole, sufficient, etc. เช่น : -

He ate much rice at school yesterday.

เขาทานข้าวมากอยู่ที่โรงเรียนเมื่อวานนี้

4.4) Numberal Adjective แปลว่า “คุณศัพท์บอกจำนวนแน่นอน” หมายถึงคำที่ไปขยายนาม เพื่อบอกจำนวนแน่นอนของนามว่ามีเท่าไร แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ : -

1. Cardinal Numberal Adjective คือคุณศัพท์ที่ใช้บอกจำนวนนับที่แน่นอนของนาม ได้แก่ : -

one, two, three, four, five, six seven, etc. เช่น : -

My hand has five fingers.

มือของผมมี 5 นี้ว


  1. Ordinal Numberal Adjective คือ”คุญศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อบอกจำนวนนับของนามนั้น ๆ ได้แก่ first, second, third, fourth, fifth, sixth, seventh, etc. เช่น”

Thanu is the first boy to be rewarded in this school.

ธนูเป็นเด็กคนแรกที่ได้รับรางวัลของโรงเรียนนี้



3. Mutiplicative Adjective คือ “คุณศัพท์บอกจำนวนทวีของนาม” ได้แก่ double, triple, fourfold เช่น

Some roses are double.

ดอกกุหลาบบางดอกก็มีกลีบ 2 ชั้น

5.5 Demonstrative Adjective แปลว่า “คุณศัพท์ชี้เฉพาะหรือนิยมคุณศัพท์” หมายถึงคำที่ใช้ชี้เฉพาะให้กับนามใดนามหนึ่ง ได้แก่ this, that (ใช้กับนามเอกพจน์) theae, those (ใช้กับนามพหูพจน์) such, same

I invited that man to come in.

ผมได้เชิญผู้ชายคนนั้นให้เข้ามาข้างใน

6.6 Interrogative Adjective แปลว่า “คุณศัพท์บอกคำถามหรือปฤจฉาคุณศัพท์” หมายถึงคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อให้เป็นคำถาม โดยจะวางไว้ต้นประโยคและมีนามตามหลังเสมอ ได้แก่What, Which, Whose เช่น

What book is he reading in the room?

เขากำลังอ่านหนังสืออะไรอยู่ในห้อง?



7.7 Possessive Adjective แปลว่า “คุณศัพท์บอกเจ้าของหรือสามีคุณศัพท์” หมายถึง คำคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อบอกความเป็นเจ้าของของนาม ได้แก่ my, our, your, his, her, its, their เช่น

This is my table. นี้คือโต๊ะของฉัน



8.8 Distributive Adjective แปลว่า “คุณศัพท์แบ่งแยกหรือวิภาคคุณศัพท์” หมายถึงคำศัพท์ที่ไปขยายนาม เพื่อแยกนามออกจากกันเป็น อันหนึ่ง หรือส่วนหนึ่ง ได้แก่ each (แต่ละ), every (ทุกๆ), either (ไม่อันใดอันหนึ่ง), neither (ไม่ทั้งสอง) เช่น

The two men had each a gun.

ชาย 2 คนนี้มีปืนคนละกระบอก

9.9 Emphasizing Adjective แปลว่า “คุณศัพท์เน้นความ” หมายถึงคุณศัพท์ที่ใช้ขยายเพื่อเน้นความให้มีน้ำหนักขึ้น ได้แก่ own (เอง), very (ที่แปลว่า “นั้น, นั้นเอง, นั้นจริง ๆ” ) เช่น

She said that she had seen it with her own eyes.

หล่อนพูดว่าหล่อนได้เห็นมันกับตาเธอเอง

10.10 Exclamatory Adjective แปลว่า “คุณศัพท์บอกอุทาน” หมายถึงคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนาม เพื่อให้เป็นคำอุทาน ได้แก่ What เช่น

What a man he is ! เขาเป็นผู้ชายอะไรนะเนี่ย !

11.11 Relative Adjective แปลว่า “คุณศัพท์สัมพันธ์ หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประพันธ์คุณศัพท์ก็ได้” หมายถึงคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามที่ตามหลัง และในขณะเดียวกันก็ยังทำหน้าที่คล้ายสันธานเชื่อมความในประโยคของตนเอง กับประโยคข้างหน้าให้สัมพันธ์กันอีกด้วย ได้แก่ What (อะไรก็ได้) Whichever (อันไหนก็ได้) เช่น

Give me what money you have.

จงให้เงินอะไรที่คุณมีอยู่แก่ผมเถอะ

Adjective-Equivalent


(คำที่ใช้เสมือนคุณศัพท์)

Adjective-Equivalent แปลว่า “คำที่ใช้เสมือนคุณศัพท์” ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า คำที่จะนำมาใช้เสมือนหนึ่งเป็นคุณศัพท์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่มีอยู่ในคุณศัพท์ทั้ง 11 ชนิด แต่เหตุที่ยังเรียกว่าเป็นคุณศัพท์ (Adjective) นั้น ก็เพราะตำแหน่งวางหรือหน้าที่การใช้คล้าย ๆ เป็นคุณศัพท์ดังนั้นหากจะเรียกคำเหล่านี้ว่า… “คุณศัพท์ที่มานอกแบบ” ก็เห็นจะไม่ผิด เพราะไม่มีอยู่ใน 11 ชนิดตามที่ได้อธิบายมาแล้ว Adjective-Equivalent ได้แก่คำต่อไปนี้คือ



1) คำนาม (Noun) นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามด้วยกันได้ แต่ให้วางไว้หน้านามที่มันไปขยายนั้นทุกครั้งไป เช่น

Thammasart University is the place for political studies.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาวิชาการเมือง

2) คำนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ โดยมี () มาใช้ควบนั้น นำมาใช้เป็น ขยายนามได้ และให้เรียงไว้หน้านามตัวนั้นตลอดไป เช่น

Daeng’s house was built in Bangkok five years ago.

บ้านของแดงได้สร้างไว้ที่กรุงเทพฯ เมื่อ 5 ปีมาแล้ว



3) Infinitive (กริยาสภาวมาลา ได้แก่ to + V.1) นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนามหรือสรรพนามได้ แต่ต้องวางไว้หลังนามที่มันไปขยายเสมอ (ห้ามวางไว้หน้านะครับ) เช่น

He has no money to give me for buying a pen.

เขาไม่มีเงินที่จะให้ผมซื้อปากกา

4) Participle (ซึ่งจะได้เรียนในบทต่อไป) นำมาใช้เป็นคุณศัพท์ขยายนามได้ และให้วางหน้านามที่มันไปขยายทุกครั้ง เช่น

The standing boy is afraid of the running dog.

เด็กที่ยืนอยู่กลัวสุนัขที่วิ่งมา

5) Gerund (กริยานาม คือ Verb เติม ing แล้วนำมาใช้อย่างนามซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไปเช่นกัน) นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามได้และให้วางไว้หน้านามนั้นตลอดไป เช่น

There is a swimming pool in our village.

มีสระว่ายน้ำสระหนึ่งในหมู่บ้านของเรา

6) Phrase (วลีทุกชนิด) นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามหรือสรรพนามได้ ส่วนตำแหน่งวางของวลีคุณศัพท์นั้นอยู่หน้านามก็มี อยู่หลังนามก็มี เช่น

Walking along the street, he saw a car accident.

ขณะที่กำลังเดินไปตามถนน เขาเห็นรถเกิดอุบัติเหตุ



7) Subordinate Clause (อนุประโยค) นำมาใช้เป็น Adjective ขยายนามได้ และ ให้วางไว้หลังนามที่ไปขยายทุกครั้ง เช่น

This is the house that Jack built.
1   2   3   4   5   6


Verilənlər bazası müəlliflik hüququ ilə müdafiə olunur ©atelim.com 2016
rəhbərliyinə müraciət