Ana səhifə

Personal oronoun


Yüklə 311.5 Kb.
səhifə3/6
tarix27.06.2016
ölçüsü311.5 Kb.
1   2   3   4   5   6

Non – Finite Verb


Non – Finite Verb แปลว่า “ กริยาไม่แท้” หมายถึง “ คำกริยาที่มิได้นำมาใช้อย่างกริยาแท้ แต่ถูกนำมาใช้ทำหน้าที่เป็นอย่างอื่น เช่น เป็นนามบ้าง , เป็นคุณศัพท์บ้าง , เป็นกริยาวิเศษณ์บ้าง , หรือเป็นอื่นใดได้ทั้งนั้น ขออย่าใช้อย่างกริยาแท้ก็แล้วกัน ” ในภาษาอังกฤษแบ่งกริยาไม่แท้ (Non – Finite Verb) ออกเป็น 3 ชนิด คือ : -

1. Infinitive = กริยาที่มี To นำหน้า (To + Verb 1) เช่น to walk etc.

2. Gerund = กริยาที่เติม ing (Verb + ing) เช่น walking , sleeping , smoking etc.

3. Participle = กริยาที่เติม ing เช่น eating , coming , etc. หรือเป็นกริยาช่อ 3 เช่น eaten , come , cleaned , spoken etc.

ลักษณะของกริยาตัวใดเป็นกริยาแท้ (Finite Verb) หรือกริยาไม่แท้ (Non – Finte Verb) นั้น สังเกตุได้ที่ตำแหน่งการวางไว้ในประโยคกล่าวคือ กริยาตัวที่วางอยู่หน้าสุดจะเป็นกริยาแท้ กริยาสำคัญหรือกริยาใหญ่ ส่วนกริยาตัวที่วางเป็นอันที่สองต่อไปเรื่อย ๆ จะเป็นกริยาไม่แท้ เช่น : -

We want to develop our country in many ways.

เราต้องการพัฒนาประเทศของเราในทุกกรณี

(want เป็นกริยาแท้ to develop เป็น Infinitive กริยาไม่แท้)



Auxiliary Verb


Auxiliary Verb แปลว่า “กริยานุเคราะห์ (บางครั้งก็เรียกกริยาช่วย (Helping Verb) บ้าง, กริยาพิเศษ (Anomalous Verb) บ้าง ” เหตุที่ได้เรียกว่าเป็นกริยานุเคราะห์หรือกริยาช่วยนั้น ก็เพราะว่ากริยาเหล่านี้ไปทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นมาลา (Mood) วาจก (Voice) และกาล (Tense) หรือพูดให้ฟังง่ายขึ้นอีกก็คือ กริยาเหล่านี้ไปทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้ประโยคนั้นเป็นคำถาม ปฏิเสธ เหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต การคาดคะเนให้คำมั่น สัญญา ตลอดถึงเงื่อนไขต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยคขึ้นมาได้ก็ต้องอาศัยกริยานุเคราะห์เท่านั้นเข้ามาเป็นตัวกำหนด Auxiliary Verb มีอยู่ทั้งหมด 24 ตัว คือ : -

Verb to be = is , am , are , was , were

Verb to have = has , have , had

Verb to do = do , does , did

= will , would

=shall , snould

= can , could

= may , might

= must

= need


= dare

= ought to

= used to
(บางตำราก็บอกว่ามี 28 ตัว โดยเพิ่มเข้ามาอีก 4 ตัว คือ : -)

= had better

= would rather

= should (ที่มีความหมายเท่ากับ ought to)

= have to (ที่มีความหมายเท่ากับ must)

รูปย่อของกริยา 24 ตัวเข้ากับสรรพนาม จะนำมาใช้ต่อเมื่อเขียนจดหมายถึงเพื่อนที่สนิท หรือคำสนทนา (พูดหรือเขียน) เท่านั้น แต่การเขียนโดยทั่วไปนอกจากที่กล่าวมานี้ นิยมใช้รูปเต็ม เช่น I am

, You are , He is , She has เป็นต้น รูปย่อเข้ากับสรรพนามมีดังต่อไปนี้ : -

- am ย่อเป็น ‘ m เช่น I ‘m ไอมุ มาจากคำเต็มว่า I am

is

- ย่อเป็น ‘ s เช่น he ‘s ฮีซ “ he is , he has

has she‘s ชีซ “ she is , she has

it‘s อีทซ “ it is , it has

where‘s แวร์ซ “ where is

what‘s วอทซุ “ what is

who’s ฮูซุ “ who is

there’s แดร์ซ “ there is

- are ย่อเป็น ‘ re เช่น we’re วีเออะ “ we are

(was , were ไม่มีการย่อ) you’re ยูเออะ “ you are

they’re เดเออะ “ they are

there’re แดเออะ “ there are

- have ย่อเป็น ‘ve เช่น I’ve ไอฟว์ “ I have

(do , does,did ไม่มีการย่อ) you’ve ยูฟว์ “ you have

they’ve เดฟว์ “ they have

we’ve วิฟว์ “ we have

had

- ย่อเป็น ‘d เช่น I’d อายเอิด “ I had,I would

would you’d ยูเอิด “ you had,you would

they’d เดเอิด “ thay had,they would

we’d วีเอิด “ we had,we would

he’d ฮีเอิด “ he had,he would

she’d ชีเอิด “ she had,she would

it’d อิทเถิด “ it had,it would

will

- ย่อเป็น ‘ ll เช่น I’ll อายเอิ่ล “ I will,I shall

shall you’ll ยูอึ่ล “ you will

we’ll วีอึ่ล “ we will,we shall

it’ll อิททึ่ล “ it will

ตอบ : รูปย่อของกริยา 24 ตัวเข้ากับ not (Contraction with not) ให้ย่อได้ดังนี้

is not ย่อเป็น isn’t อีสซึ่นทุ

are not “ aren’t อ้านทุ

was not “ wasn’t วอสซึ่นทุ

were not “ weren’t เวิ่นทุ

(ส่วน am not ไม่มีการย่อนะครับ)

has not “ hasn’t แฮสซึ่นทุ

have not “ haven’t แฮฟวึ่นทุ

had not “ hadn’t แฮดดึ่นทุ

do not “ don’t ด๊นทุ

does not “ doesn’t ด๊าสซึ่นทุ

did not “ didn’t ดิดอึ้นทุ

will not “ won’t ว้นทุ

would not “ wouldn’t วูดดึ้นทุ

shall not “ shan’t ช้านทุ (หรือแช้นทุ)

should not “ shouldn’t ชุดอึ้นทุ

can not “ can’t ค้านทุ (แค้นทุ)

could not “ couldn’t คุดอึ้นทุ

may not “ mayn’t เม้นทุ

might not “ mightn’t ไม้ทึ่นทุ

must not “ mustn’t มัสซึ่นทุ

need not “ needn’t นีดอึ้นทุ

dare not “ daren’t แด้นอึนทุ

ought not “ oughtn’t อ๊อททึ่นทุ

used not “ usedn’t ยูสอึ่นทุ

หมายเหตุ : usedn’t ถ้าเป็นภาษาพูดหรือเขียนบทสนทนา นิยมใช้ didn’t use to แทนมากว่า เช่น : -

ปฏิเสธ : I didn’t use to live in Russia.

( = I usedn’t to live in Russia.)

ผมไม่เคยได้ไปอยู่รัสเซีย เป็นต้น

คำถาม : Did you use to see an elephant in Surin ?

คุณเคยเห็นช้างที่สุรินทร์ไหม ?

(ใช้ did มาช่วยเมื่อเป็นคำถามและ ed ที่ used ให้ตัดออกเสีย ประโยคนี้อาจแต่งโดยใช้ used ขึ้นต้นประโยคก็ได้ เป็น Used you to see an elephant in Surin ? แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันเท่าไรนัก ในทัศนะของนักไวยากรณ์ (grammarian) สมัยใหม่)

หน้าที่ของ Verb to be

Verb to be ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังต่อไปนี้


1) วางไว้หน้ากริยาตัวที่เติม ing ทำให้ประโยคนั้นเป็น Continuous Tense มีสำเนียงแปลว่า “กำลัง” ทุกครั้งไป เช่น

We are learning English. เรากำลังเรียนภาษาอังกฤษ

He is reading a book. เขากำลังอ่านหนังสือ


กริยาช่องที่ 1 เติม ing

มี Verb to be อยู่ข้างหน้า

ให้แปลว่า “ กำลัง “

2) วางไว้หน้ากริยาช่อง 3 (เฉพาะสกรรมกริยา) ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก (Passive Voice) มีสำเนียงแปลว่า “ ถูก “ เช่น

He was punished by the teacher yesterday.

เขาถูกทำโทษโดยคุณครูเมื่อวานนี้

3) วางไว้หน้ากริยาสภาวมาลา (Infinitive) มีสำเนียงแปลว่า “ จะ , จะต้อง “ แสดงถึงหน้าที่ที่ต้องกระทำ , แผนการ , การเตรียมการ , คำสั่ง , คำขอร้อง , หรือความเป็นไปได้ เช่น

He is to stay here till I come back.

เขาจะต้องอยู่ที่นี่จนกว่าผมจะกลับมา



4) ประโยคคำสั่ง ,อวยพร , ที่นำหน้าประโยคด้วย Adjective (คุณศัพท์) ต้องใช้ Be นำหน้าเสมอ เช่น Be quiet. The baby is sleeping.

เงียงหน่อย เด็ดเล็กกำลังนอนหลับอยู่

5) ใช้นำหน้าสำนวน about to + Verb ช่อง 1 มีสำเนียงแปลว่า “ จะ “ แสดงถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้เช่น

They are about to start jouney this evening.

พวกเขาจะออกเดินทางกันเย็นวันนี้

6) ใช้ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Principal Verb) ในประโยคได้กรณีนี้ในประโยคนั้นจะไม่มี Verb ตัวอื่นเข้ามาร่วมอยู่กับ Verb to be เช่น

Anne is always a good girl. แอนเป็นเด็กหญิงดีเสมอ
หน้าที่ของ Verb to have

Verb to have ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังต่อไปนี้


1) เรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 (Past Participle) ทำให้ประโยคนั้นเป็น Perfect Tense (สมบูรณ์กาล) ขึ้นมาทันที เช่น

We have learnt Englisg since last month.

เราเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา

2) ใช้โดยมีกริยาสภาวมาลา (Infinitive) ตามหลังมีสำเนียงแปลว่า “ ต้อง “ แสดงถึงพันธะหน้าที่หรือความจำเป็นที่ต้องกระทำ เช่น

He has to study English next month.

เขาจะต้องเรียนภาษาอังกฤษเดือนหน้า

3) ใช้ให้เกิดความหมายเท่ากับเหตุกัตตาประโยค (Causative Use of “ Have “ ) คือ ประโยคที่ใช้ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ กรณีนี้แยกออกได้เป็น 2 Structure คือ

3.1 ถ้าเน้นตัวผู้ที่ทำ เราจะใช้รูปประโยคว่า……..

Have + Someone (ผู้ทำให้) + Verb 1 (without “ to “) + Something

เช่น I have Surachai wash my car every Sunday.

ผมให้คุณสุรชัยล้างรถของผมทุก ๆ วันอาทิตย์

She has her daughter clean a room every morning.

หล่อนให้ลูกสาวของหล่อนทำความสะอาดทุก ๆ เช้า

อนึ่ง have ใช้ get แทนก็ได้ แต่ Non – Finite Verb ที่ตามหลังต้องเป็น with “ to “ คือมี to นำหน้าได้ว่าอย่างงั้นเถอะ เช่น :-

I got Det to bring my car back.

(= I had Det bring my czr back.)

The teacher gets me to read a book every day.

(= The teacher has me read a book every day.)

ผมให้เดชนำเอารถยนต์ของผมมาคืน

คุณครูให้ผมอ่านหนังสือทุกวัน



3.2) ถ้าเน้นสิ่งของที่ถูกทำ (Passive) เราจะใช้รูปประโยคว่า…..

Have + Something (สิ่งที่ถูกทำ) + Verb ช่อง 3

เช่น I have my car washed every Saturday.

ผมให้เขาล้างรถยนต์ของผมทุก ๆ วันเสาร์

He has his gun cleaned.

เขาให้ผู้อื่นทำความสะอาดปืนให้

หรือจะใช้ get แทน have ก็ได้ เช่น :-

I got my bicycle washed.

ผมให้ผู้อื่นล้างรถจักรยานของผมให้

4) Verb to have นอกจากจะใช้เป็นกริยาพิเศษหรือกริยาช่วยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้อย่างกริยาหลัก (Principal Verb) ทั่ว ๆ ไปด้วย ในกรณีนี้ทำให้ have (has,had) มีความหมายแปลได้หลายอย่าง เช่น :-



4.1 แปลว่า “ รับ “ (Receive) เช่น

He had a letter this morning.

เขาได้รับจดหมายฉบับหนึ่งเมื่อเช้านี้

(had เท่ากับ receive)



4.2 แปลว่า “ประสบ” (Experience) เช่น

John had a good time at Bangsaen last week.

จอห์นสนุกสนานที่บางแสนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

(had เท่ากับ experience)



4.3 แปลว่า “รับประทาน” (eat) เช่น

We have our lunch at noon.

พวกเรารับประทานอาหารกลางวันของเราเวลาเที่ยง

(have เท่ากับ eat)

การใช้ Verb to have ตามความหมายทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมานี้ หากทำเป็นประโยคปฏเสธ (Negative) และประโยคคำถาม (Intorrogative) ต้องใช้ Verb to do เข้ามาช่วย จะใช้ not เติมหลัง have หรือนำเอา have ขึ้นไปไว้ต้นประโยคดังเช่นกริยาพิเศษ (Anommalous Verb) ตัวอื่นหาได้ไม่ เช่น :-

Affermative Negative Intorrogative

(ประโยคบอกเล่า) (ประโยคปฏิเสธ) (ประโยคคำถาม)

He has his breakfast at seven. He doesn’t have his Does he have his breakfast at

Break fast at seven. seven?

- เขาทานอาหารเช้าของเขาเวลา - เขาไม่ทานอาหารเช้า - เขาทานอาหารเช้าของเขาเวลา

7 นาฬิกา ของเขาเวลา 7 นาฬิกา 7 นาฬิกา

They had a letter yesterday. They didn’t have a Did they have a letter yesterday?

Letter yesterday.

พวกเขาได้รับจดหมายเมื่อวานนี้ พวกเขาไม่ได้รับจด พวกเขาได้รับจดหมายหรือ

หมายเมื่อวานนี้ เมื่อเมื่อวานนี้ ?



4.4 แปลว่า “มี” (Possess)เช่น :-

She has a sister. เธอมีน้องสาวคนหนึ่ง

(has เทากับ possess)

Daeng has many frieds in Korat

แดงมีเพื่อนมากที่โคราช

(has และ have เท่ากับ possess)



5) Verb to have เมื่อมีกิริยาบางคำมาตามหลัง จะทำให้กิริยาตัวนั้นกลายเป็นคำนามขจึ้นมาและกิริยาบางคำที่ตามหลัง have ดังกล่าวมานี้ จะใช้โดยมี Article “a” นำหน้าตลอดไป ส่วนคำแปลของ have ตามกฎการใช้แบบข้อที่ 5 นี้ ยาอมขึ้นอยากับความหมายกับคำที่ตามหลัง ไม่มีจำกัดแน่นอนตายตัวตาทกำหนด เช่น :-

have a rest พักผ่อน

have a walk เดินเล่น

have a swim ว่ายน้ำ

have a ride ขี่

have a sleep นอนหลับ

have a drive ดื่ม

etc. เช่น

We had a swim in the pool yesterday

เราว่ายน้ำในสระนั้นเมื่อวานนี้



6) เมื่อ Verb to have นามาใช้เพื่อแสดงลักษณะเฉพาะและความสัมพันธ์ของสิ่งของนั้นๆจะใช้ verb to be แทนก็ได้ เช่น :-

This houre has six windows

บ้านหลังนี้มีหน้าต่าง 6 บาน

There are six window in six house.

มีหน้าต่าง 6 บานในบ้านหลังนี้
การใช้ have to, have got, had better

have to แปลว่า ต้องจำเป็นต้อง (must) ใช้แสดงถึงพันธะหน้าที่ภารกิจจำเป็นต้องกระทำหลัง have to ต้องใช้กิริยาช่อง 1 ตลอดไป เช่น

I have to leave now. ผมจำเป็นต้องกลับเดี๋ยวนี้

He has to go to school from Monday to Friday

เขาต้องไปเรียนหนังสือวันจันทร์ถึงวันศุกร์

อนึ่ง ประโยคบอกเล่าที่มี have to เมื่อทำเป็นคำถามหรือปฏิเสธต้องใช้ verb to do เข้ามาช่วย จะเอา have(has) got to ขึ้นไปไว้ประโยคเมื่อเป็นคำถาม หรือเติม หลัง เมือต้องการเป็นปฏิเสธหาได้ไม่เช่น

คำถาม : Do I have to leave to leave now ? ผมจำเป็นต้องไปเดี๋ยวนี้หรือ ?

(อย่าใช้ : Have I to leave now ?)

ปฏิเสธ : I don’t have to leave now. ผมไม่จำเป็นต้องไปเดี๋ยวนี้

(อย่าใช้ : I haven’t leave now.)

คำถาม : Does he have to go to work ?เขาจะต้องไปทำงานหรือ

(อย่าใช้ : Has he to go to work ?)

ปฏิเสธ : He doesn’t have to go to work.เขาไม่จำเป็นต้องไปทำงาน

(อย่าใช้ : He hasn’t to go to work.)

หมายเหตุ : have to ใช้ได้กับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันและอนาคต รูปอดีตของ have to คือ had to

- Have got to คำแปลเช่นเดียวกัน have to นำมาใช้ในภาษาพูดแทน have to และ นิยมย่อhave หรือ has เข้ากับสรรพนามเสมอ หรือย่อเข้ากับ not เมื่อประโยคนั้นเป็นปฏิเสธ กรณีทำเป็นคำถาม ให้เอา have หรือ has ในคำว่า have (หรือ has) got to ขึ้นไปไว้ต้นประโยคได้เช่น
Affirmative(บอกเล่า) negative(ปฏิเสธ) Interrogative(คำถาม)

He’s got to go. He hasn’t got to go. Has he got to go ?

I’ve got to do. I haven’t got to do. Have he got to go ?

John’s got to come. John hasn’t got to come Has John got to come ?



  • had better (ให้รวมถึง had rather,had sooner) แปลว่า”ควรจะ...ดีกว่า”หลัง had betterตามด้วย verb ช่อง 1 (เป็น Infinetive Without “to”) ใช้ในกรณีที่คิดว่าจะดีจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดหรือ เหมาะสมที่จะทำกิจนั้นๆในเวลานั้น แม้จะมีรูปเป็นอดีต แต่ความหมายเป็นปัจจุบัน โดยปกติเวลาเขียนจะเป็นรูปย่าอ เข้ากับประธานเสมอ ใช้ได้กับทุกพจน์และทุกบุรุษ เช่น

You had berter start your work tomorrow

(= You’d berter start your work tomorrow.)

คุณควรจะเริ่มงานของคุณวันพรุ่งนี้ดีกว่า

I had berter go back now

(=I’d berter go back now.)

ผมควรจะกลับเดี๋ยวนี้ดีกว่า

She had rather walk there

(=She’d rather walk there)

หล่อนควรจะเดินไปที่นั้นดีกว่า

He had sooner die than admit that he was wrong

(=He had sooner die than admit that he was wrong)

เขาควรจขะตายเสียดีกว่าที่รับว่าเป็นผู้ผิด


หน้าที่ของ Verb to do

Verb to do ได้แก่ do,does,did เมื่อนำมาใช้เป็นกิริยาช่วย (Helping – verb) ไม่มีสำเนียงแปล และเมื่อไปช่วยกิริยาตัวใด verb ที่ตามหลัง do,does,did ไม่ต้องมี to นำหน้าเพราะเป็น Infinetive Without “to” do,does ใช้กับการกระทำที่เป็นปัจจุบัน(แต่ต่างพจน์กัน) กรก ใช้กับการกระทำที่เป็นอดีต(ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ)ซึ่งมีรายละเอียดของการช่วยหรือใช้จริงได้ดังต่อไปนี้



1) ช่วยในการทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถามหรือประโยคปฏิเสธในกรณีที่ประโยคเหล่านั้นต้องตรงตามหลักทฤษฎีที่ว่า...


Verb to have ไม่มี

Verb to be ไม่อยู่

Verb to do มาช่วย


(หรือมี will,would,shall,should,can,could,may,might,must,อยู่แล้วก็ไม่ต้องใช้ verb to do มาช่วย)

ตัวอย่างใช้ do มาช่วย

บอกเล่า You speak French to your Friend

คุณพูดภาษาฝรั่งเศษกับเพื่อนของคุณ

คำถาม Do you speak French to your friend

คุณพูดภาษาฝรั่งเศษกับเพื่อนของคุณหรือ

ปฏิเสธ You don’t speak French to your Friend

คุณไม่พูดภาษาฝรั่งเศษกับเพื่อนของคุณ

ตัวตัวอย่างใช้ does มาช่วย

บอกเล่า He opens the window by himself

เขาเปิดหน้าต่างด้วยตนเอง

คำถาม Does he opens the window by himself

เขาเปิดหน้าต่างด้วยตนเองหรือล

ปฏิเสธ He doesn’t opens the window by himself

เขาไม่ได้เปิดหน้าต่างด้วยตนเอง

ตัวอย่างการใช้ did มาช่วย

บอกเล่า she went to England last week

หล่อนไปประเทศอังกฤษสัปดาห์ที่แล้ว

คำถาม Did she go to England last week

หล่อนไปประเทศอังกฤษหรือสัปดาห์ที่แล้ว

ปฏิเสธ she didn’t go to England

หล่อนไม่ได้ไปประเทศอังกฤษ

2) ใช้แทนกิริยาตัวอื่นที่อยู่ในประโยคเดียวกัน เพื่อไม่ให้ใช้กิริยาตัวเดิมเช่น

Billy likes badminton and so does Jenny.

บิลลี่ชอบแบตมินตันเจนนี่ก็ขอบเหมือนกัน

You speak Thai and I do too

คุณพูดภาษาไทยผมก็เช่นกัน

(do,does,didn’t ทั้ง 3 คำไปแทนกิริยา likes,speak,และ worked ตามลำดับ ทั้งนี้มิให้เอ่ยคำเดิม)



3) ใช้การหมุนกิริยาตัวอื่น เพื่อให้เกิดกิริยากับตัวนั้นว่า จะต้องทำเช่นนั้นจริงๆหรือเกิดขึ้นจริงๆ โดยใช้เรียงไว้หน้ากิริยาที่มันไปหมุนอีกทีหนึ่ง เช่น

I do go and see you tomorrow

ผมจะไปพบคุณให้ได้วันพรุ่งนี้

Danai does write to me

ดนัยจะเขียนจดหมายถึงผมจริงๆ

Do come with us. ไปกับเราให้ได้นะ

(Do,does,did,และDoเรียงไว้หน้ากิริยาใด เน้นหรือหมุนกิริยาตัวนั้นหี้น้ำหนักกรกระทำ)



4) ใช้แทนประโยคคำตอบแบบสั้นๆ ทังนี้มิให้นำเอากิริยาหลักในประโยคคำถามนั้น มากล่าวซ้ำในประโยคคำตอบ เช่น

Do you smoke a cigarette yes,I do

คุณสูบบุหรี่หรือ ครับ ผมสูบ

Did he ride a bicycle to school yes,he did

เขาขี่จักรยานไปโรงเรียนหรือ ใช้เขาขี่

5) ใช้แทนกิริยาหลักในประโยคทั้งที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงในการนำเอากิริยาหลักในประโยคคำกล่าวข้างหน้า มาพูดอีกเป็นครั้งที่ 2 เช่น

เห็นด้วย Tom speak a lot Yes,he does

ทอมพูดมากจัง ครับเขาพูดมาก

ไม่เห็นด้วย Your dog barks a lot No,it doesn’t

สนัขของท่านเห่ามากเหลือเกิน เปล่า ไม่ได้เห่ามากหรอก

6) Verb to do ถ้านำมาใช้อย่างกิริยาหลักทั่วๆไป มีสำเนียงแปลว่าทำดังนั้น เป็นคำถามหรือปฏิเสธต้องเอา Verb to do (ที่เป็นกิริยาแท้อีกที่หนึ่ง) ตามหลักทฤษฏีที่ว่า

บอกเล่า You do your homework every day

คุณทำการบ้านทุกๆวัน

คำถาม Do you do your homework every day

คุณทำการบ้านทุกๆวันหรือ

ปฏิเสธ You don’t do your homework every day

คุณไม่ได้ทำการบ้านทุกๆวัน

7) ใช้แทนกิริยาแท้ในประโยคคำถามที่เป็น Question – Tags เช่น

Edward lives here, doesn’t he

เอดเวิดอาศัยอยู่ที่นี่ มาใช้หรือ

We don’t drink whisky, do we

พวกเราไม่ดื่มสุรา ใช่ไหม

He ate rice, didn’t he

เขาทานข้าว ไม่ใช่หรือ
การใช้ Will,Would,shall,Should

Will,Would,shall,Should ทำหน้าที่ช่วยกิริยาอื่นดังต่อไปนี้

Will แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่กิริยาตัวอื่น เพื่อบอกความเป็นอนาคตกาล(Future Tense)และใช้กับประธานที่เป็นบุรุษที่ 2 และบุรุษที่32 ตลอดถึงนามเอกพจน์ พหูพจน์ ทั่วไปที่มาเป็นประธานได้ทั้งนั้น
He will meet his friend on the raod

เขาจะพาไปพบเพื่อนของเขาที่ถนน

You will be in time if you hurry

เขาจะทันเวลาถ้ารีบหน่อย

Naraporn will arrive in Bangkok this evening

นราพรจะมาถึงกรุงเทพเย็นวันนี้



Shall แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่กิริยาช่วย เพื่อให้เป็นอนาคตกาลเช่นเดียวกับ Will และให้ใช้กับประธานที่เป็นบุรุษที่ 1 เช่น

I shall start my journey tomorrow.

ผมจะออกเดินทางวันพรุ่งนี้

We shall be there at six o’clock.

เราจะไปถึงที่นั่นเวลา 6 นาฬิกา

I shall write a letter to him soon

ผมจะเขียนจดหมายถึงเขาในเร็วๆนี้

Would แปลว่า “จะ” ใช้ทำหน้าที่ช่วยกิริยาตัวอื่นได้ดังต่อไปนี้

1) ในอดีตของ Will ในประโยคที่เปลี่ยนมาจาก Indirect Speech เช่น :-

She said, “I will do it again.”

หล่อนพูดว่า ดิฉันจะทำอีกครั้ง

She said that she would do it again

หล่อนพูดว่า หล่อนจะทำอีกครั้งหนึ่ง

2) ใช้ในประโยคเงื่อนไข เช่น :-

If I were you, I would try to do.

ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะพยายามทำไม่ได้

3) ใช้เป็นกิริยาช่วยร่วมกับ likeในสำนวนการพูดเพื่อความสุภาพ ซึ่งมีความหมายว่า อยากจะ อยากให้ กรณีเช่นนี้ would ใช้ได้กับทุกพจน์และทุกบุรุษ และมีความเป็นปัจจุบันกาลด้วย

I would like to be here alone

ผมอยากอยู่ที่นี้ตามลำพังหน่อย

4) ให้ใช้ would (แทน will ตลอดไป) เมื่อผู้พูดม่แน่ใจคือยังสงวนท่าทีเพื่อรอดูปฏิกิริยาของผู้ที่ตนพูดด้วยว่า จะเป็นอย่างชักนำหรือไม่ และตามกฆฃฏข้อนี้มักใช้คำถามเพื่อความสุภาพ เช่น :-

Would you have some cold drinks

คุณจะรับเครื่องดื่มเย็นๆ สักอย่างไหมครับ



5) ในประโยคคำถามที่มีกิริยา mind,please เข้าร่วม เพื่อความสุภาพในการถามหรือออกค่ำสั่ง และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่คู่สนทนาอีกโสดหนึ่ง ต้องใช้ Would นำหน้าคำถามหรือคำสั่งนั้นๆตลอดไปเช่น :-

Would you mind if I smoke of course not

คุณจะรังเกียจผมไหมถ้าผมสูบบุหรี่ ไม่รังเกียจครับ

6) ใช้ในสำนวนการพูดว่า “ควรจะ...ดีกว่า,สมัครใจที่จะ...ดีกว่า”ควบกับ better หรือ rather ใช้ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ เช่น

He would better (rather) go to meet you today

เขาควรจะไปพบคุณวันนี้ดีกว่า

Which would you rather have, tea or coffee

คุณอยากจะดื่มอันไหนมากกว่าชากาแพ

บางครั้งหลัง better หรือ rather จะมี than มาต่อท้ายอีกก็ได้ เช่น

I would rather die than come back without success.

ผมควรจะตายเสียดีกว่าที่จะกลับมาโดนไม่ประสบความสำเร็จ

She would rather walk than run.

เธอควนจะเดินไปมากกว่าวิ่ง



Should แปลว่า “จะ” มีหลักการใช้ดังต่อไปนี้

  1. ใช้เป็นรูปอดีต (Past Tense) ของ Shall ในประโยค Indirect Speech เช่น :-

He said to me,”You will be able to do it.”

เขาพูดกับผมว่า,”คุณจะต้องสามารถทำมันได้”

He told me that I should be able to do it.

เขาบอกผมว่า ผมจะต้องสามารถทำมันได้



2) ในประโยคที่เป็นอนาคต ถ้าผู้พูดยังมีความสงสัย,ไม่แน่นอนใจ,หรือเป็นการณ์คาดหวังกับเหตุการณ์หรือพฤติกรรมนั้น ต้องใช้ should ตลอดไป (ไม่นิยม Shall) เช่น :-

They should be there by 3 o’clock,I think

ผมคิดว่า พวกเขาจะต้องไปถึงที่นั่นเวลาบ่าย 3 โมง

3) should เมื่อแปลว่า “ควรจะ” คือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกพจน์ทุกบุรุษ ใช้แสดงถึงหน้าที่ที่จะต้องระทำ การให้คำแนะนำ(duty,obligation or advice) ซึ่งมีความหมายเท่ากับ ought to โดยเฉพาะภาษาพูดจะใช้ should แทน ought to เช่น :-

Application should be submitted by may 5 th at the lastest

ใบสมัครควรจะยื่นภายในวันที่ 5 พฤษภาคม เป็นอย่างช้า

You should go on a diet. คุณควรลดอาหารบ้าง

We should obey our government. เราควรเชื่อฟังรัฐบาลของเรา

4) ใช้ should have + Verb ช่อง 3 กับอดีตกาลที่ไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งได้ผ่านพ้นมาแล้ว เช่น :-

Surat should have studied hard before the examination. (but he didn’t)

สุรัชควรจะได้เรียนอย่างจริงจังก่อนที่จะสอบ

Your report is too late. You should have submitted it by last Friday

รายงานของคุณช้าเกินไป คุณหน้าจะได้ยินตั้งแต่วันศุกร์ที่แล้ว

5) ใช้ Should แทน might กับทุกประธานได้ ในประโยคที่แสดงความมุ่งหมาย โดยมีสันธาน So that,in order that นำหน้าประโยคของมัน เช่น :-

I helped him very much so that he should fail.

ผมได้ช่วยเขาอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นเข้าควรสำเร็จ

6)ใช้ Should ในประโยคที่ตามหลัง lest,for fear that,ตลอดไป เช่น :-

Winai studied harder lest he should fail

วินัยศึกษาขะมักเขม้นยิ่งขึ้น เผื่อว่าจะได้ไม่ต้องสอบตก

She remained silent for fear that I should hear her.

หล่อนยังเงียบอยู่ เพราะเกรงว่า ผมจะได้ยินเธอ

Can แปลว่า สามารถ เป็นกิริยา Anomalous Verb(เป็นกิริยาพิเศษ) ได้เพียงวอย่างเดียวรูปอดีตของ Can คือ Could กิริยาตัวอื่นที่ตามหลัง can เป็น Infinitive without “to” และนอกจากนี้แล้ว ยังใช้ได้กับทุกประธานและทุกพจน์อีกด้วย ซึ่งมีวิธีใช้ได้ดังต่อไปนี้

1)ใช้แสดงความเป็นอิสระจากพันธต่างๆ เช่น

I can see you tomorrow at 7 o’clock

พรุ่งนี้ผมพบคุณได้เวลา 7 นาฬิกา

2)ใช้แสดงภาวการณ์รับรู้ซึ่งมิอาจควบคุมได้ เช่น

I can see (hear,remember,etc)

ผมสามารถเห็น (ได้ยิน,จำได้ เป็นต้น)

3) ใช้แสดงถึงสิ่งที่ผ็พูดพูเป็นความจริง หรือเป็นไปได้อย่างแน่นอน โดยปราศจากข้อสงสัย เเช่น

This can be the answer,I think.

ผมคิดว่า นี้คือคำตอบที่ถูกต้อง

Can this be right

สิ่งนี้ถูกต้องหรือ



4) ใช้แสดงถึงความสามารถหรือการอนุญาต เช่น :-

I can drive very far from here.

ผมสามารถขับรถไปได้ไกลจากที่นี่.

You can go Whenever you want.

คุณไปได้เมื่อคุณต้องการ.

5) ใช้แสดงถึงพละกำลัง การฝึกหัดและการเรียนรู้ เช่น :-

Can you lift ,that table ?.

คุณสามารถยกโต๊ะตัวนั้นได้ไหม ?.



Can you play the piano well ?.

คุณสามารถเล่นเปียโนได้ดีหรือไม่ ?.



Could แปลว่า “สามารถ” เป็นรูปอดีตของ Can ใช้ได้กับทุกพจน์ และ ทุกตัวประธาน กริยาตัวอื่นที่ตามหลังเป็น Infinitive Without “to” ซึ่งมีรายละเอียดของการใช้ได้ดังต่อไปนี้ :-

1)ใช้แสดงความเป็นอิสระจากพันธะอื่น ๆ ได้ แต่มีความน่นอนน้อยกว่า Can เช่น :-

She Could see me tomorrow at 7 o’clock, perhaps.

พรุ่งนี้เวลา 7 นาฬิกา หล่อนอาจจะพบผมก็ได้.

2)ใช้เป็นอดีตของ Can ในประโยค Indirect Speech ( ที่เปลียนมาจาก Direct Speech) เช่น

Direct : She said, “I can go there alone ?”

หล่อนพูดว่า, “ดิฉันสามารถไปที่นั่นได้คนเดียวได้ ? “



Indirect : She said that she Could go there alone .

หล่อนพูดว่า ดิฉันสามารถไปที่นั่นได้คนเดียวได้ .



3)ใช้แสดงถึงความสามารถ ที่ได้กระทำในอดีต เช่น :-

I could speak Franch perfectly ten years ago .

ผมสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดี เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา .

4) ใช้เพื่อขออนุญาต กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งกับคู่สนทนา ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่เราพูดด้วย เช่น :-

Could I borrow your pen, please ?

ผมขอยืมปากกาท่านหน่อยได้ไหมครับ ?

5) Could ที่นำมาใช้ในรูป Could + have+Verb ช่อง3 เพื่อแสดงถึงความสามารถหรือความเป็นไปได้ในอดีต แต่ก็ไม่ได้ใช้ความสามารถนั้นเสีย เช่น :-

I could have lent you the money. Why didn’t you ask me ?

ผมให้คุณยืมเงินได้ (แต่)ทำไมคุณจึงไม่ออกปากขอ ?
หน้าที่ของ May, Might

May และ Might เป็นคำกริยาจำพวก Anomalous Verb ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น รูปอดีตของ May ก็คือ Might รูปปฏิเสธคือ may not (mayn’t) และ might not (mightn’t ) และ may นำมาใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้



1) ใช่เพื่อแสดงความมุ่งมั่นหมาย (Purose) และจะอยู่หลัง so that หรือ in order that เสมอ เช่น :-

I work hard so that I may succeed.

ผมทำงานอย่างหนัก เผื่อว่าจะประสบความสบเร็จ

2) ใช้เพื่อแสดงความปราถนา ความหวัง หรือการอวยพรให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องประสงค์ (may อยู่ต้นประโยคเสมอ) เช่น :-

May you be happy for ever.

ขอให้คุณประสบแต่ความสุขตลอดไป



3) ใช้ช่วยเพื่อแสดงการอนุญาต หรือการขออนุญาต (Permission) ที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น :-

May I use your dictionary ? Yes,you may.

ผมขอใช้พจนานุกรมของท่านได้ไหม ? ครับ เชิญเลย.



4) ใช้เพื่อแสดงความคาดคะเนว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ เช่น

You may come next Sunday.

หล่อนอาจมาวันอาทิตย์หน้า

5) ใช้ช่วยเพื่อแสดงความสงสัยหรือไม่แน่ใจของผู้ผูดที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ เช่น

You may talk to everybody but you can’ t force him to listen to you.

คุณอาจจะพูดกับทุกคนได้ แต่คุณไม่สามารถบังคับให้เขาฟังคุณ (ทุกครั้ง) ไปได้

6) ใช้ช่วยเพื่อแสดงความเป็นไปได้ () สำหรับการกระทำนั้น ๆ เช่น

IT may rain this afternoon.

ฝนอาจจะตกในตอนบ่ายนี้

Might

มีวิธีใช่ดังต่อไปนี้


1) ใช้เป็นอดีตของ may ในประโยคที่เปลี่ยนมาจาก Direct Speech เช่น

Direct : He said, “I may drive your car today.”

เขาพูดว่า, “ผมอาจจะขับรถของคุณวันนี้



Indirect : He said that he might drive my car that day.

เขาพูดว่าเขาอาจจะได้ขับรถของผมวันนั้น



2) ใช้ในกรณีที่ผู้พูดไม่แน่นอนใจว่า เขาจะทำอย่างนั้นอย่างนี้จริง (แต่หากมั่นใจอย่างแน่นอนให้ใช้ may แทน) ลองเปรียบเทียบดู 2 ประโยคนี้ซิครับ แล้วจะเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น

Mr. A : I don’t know where Det is. He might be at his office.

Mr. B : I think Det may be at his office certainly.

ประโยคแรก :Mr. A ไม่ทราบว่าเดชอยู่ที่ไหนกันแน่ เพียงคาดการณ์ว่าเขาอาจจะอยู่ที่ทำงานของเขาก็ได้ เมื่อพูดออกไปโดยไม่แน่นอนใจเช่นนั้น จึงใช้ might มาเป็นกริยาช่วย

ประโยคที่สอง : Mr. B รู้แจ้งประจักษ์กับตัวเองอย่างเต็มที่ว่า เดชจะต้องอยู่ที่ทำงานไม่ได้ไปไหน เพราะเห็นด้วยตาตัวเองแล้ว จึงเกิดความมั่นใจ 100% ว่า เดชจะต้องอยู่ที่ทำงานของเขา จึงใช้ มาเป็นกริยาช่วยอันแสดงถึงความมั่นใจ

3) might+have+verb ช่อง 3 นำมาใช้เพื่อแสดงถึงความไม่แน่นอนใจขณะที่พูดถึงสิ่งที่เป็นอดีต เช่น

I can’t imagine why she was late. She might have been delayed by the rain or she might have had an accident.

ผมก็คิดไม่ออก (เหมือนกัน) ว่า ทำไมหล่อนมาสายเพราะฝนตกทำให้ล่าช้า หรือว่าเธอได้รับอุบัติเหตุ (กันแน่หนอ)

Must

Must เป็นกริยาจำพวก Anomalous verb โดยแท้ ไม่มีรูป Infinitive, Particple เช่นกริยาธรรมดาทั่วไป และไม่ต้องเติม s ถึงแม้ประธานเป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์ ซึ่งมีวิธีใช้ดังต่อไปนี้

1) ใช้เป็นกริยาที่แสดงคำสั่งหรือความจำเป็นที่จะต้องทำ (Necessity) เช่น

We must obey the laws of the country.

เราจะต้องเชื่อฟังกฎหมายของประเทศ

2) ใช้แสดงการบอกเล่าที่ต้องการเน้นให้หนักแน่น แต่ไม่ใช้แสดงความจำเป็น เช่น

You must know that my father is very busy.

ท่านจะต้องรู้ด้วยนะว่า พ่อของฉันยุ่งมาก

3) ใช้แสดงความตั้งใจหรือความแน่ใจของผู้พูด เช่น

I must finish this before I go to bed.

ฉันจะต้องทำสิ่งนี้สำเร็จก่อนที่จะไปนอน

4) ใช้แสดงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการของผู้พูด เช่น

Every time I call on him. He must be busy.

ผมไปหาเขาทีไร เขาเป็นต้องไม่ว่าสักที

5) ใช้แสดงเหตุการณ์หรือพฤติกรรมที่จะต้องเกิดขึ้นกับมนุษย์หรือกับสิ่งอื่นใด ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น

Man must die. คนเราต้องตาย



6) ใช้แสดงการกระทำที่เป็นหน้าที่โดยตรง เช่น

We must pay taxes to our government.

เราจะต้องจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลของเรา

7) ใช้แสดงการขอร้อง (ในสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้) เช่น

You must forgive me for that matter.



1   2   3   4   5   6


Verilənlər bazası müəlliflik hüququ ilə müdafiə olunur ©atelim.com 2016
rəhbərliyinə müraciət