Ana səhifə

Personal oronoun


Yüklə 311.5 Kb.
səhifə4/6
tarix27.06.2016
ölçüsü311.5 Kb.
1   2   3   4   5   6

Need


Need เป็นกริยา Anomalous Verb ที่ออกจะพิเศษอยู่นิดหน่อยนั้นคือ ใช้เป็นกริยาแท้ (Finite Verb) ก็ได้ ใช้เป็นกริยาช่วย (Helping Verb) ก็ได้ ดังจะได้อธิบายถึงรายละเอียดของการใช้ดังนี้

: Need ใช้อย่างกริยาแท้



1) Need ถ้านำมาใช้อย่างกริยาแท้ทั่ว ๆ ไป ตามด้วยคำกริยารูป Infinitive With “to” และเมื่อประธานของ need เป็นเอกพจน์ ปัจจุบันกาล need ต้องเติม s และเมื่อเป็นอดีตให้เติม ed ที่ need ได้เลย เช่น

She needs to go to see a doctor when she is sick.

หล่อนต้องไปหาหมอเมื่อหล่อนไม่สบาย

He needed to come here yesterday but he didn’t.

เขาจำเป็นต้องมาที่นี่เมื่อวานนี้ แต่เขาก็ไม่ได้มา

2) Need ที่ใช้อย่างกริยาแท้ (Finite Verb) เมื่อทำเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธต้องใช้ Verb to do เข้ามาช่วย เช่น

บอกเล่า : He needs to work to earn his living.

เขาจำเป็นต้องทำงานหาเลี้ยงชีพตัวเอง

ปฏิเสธ : He doesn’t need to work to earn his living.

เขาไม่จำเป็นต้องทำงานเพื่อเลี้ยงชีพของเขาอีกแล้ว

คำถาม : Does he need to work to earn his living?

เขาจำเป็นต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพของเขาหรือ?

. Need ที่ใช้อย่างน้อยกริยาช่วย

1) Need ที่ใช้อย่างกริยาช่วย (Helping-Verb) คำกริยาตัวอื่นที่ตามหลังต้องเป็น Infinitive Without “to” และเมื่อประธานเป็นเอกพจน์ ปัจจุบันกาล need ก็ไม่ต้องเติม s (หรือ ed, ing อะไรทั้งนั้น) เช่น

She need hardly do hard work.

เธอแทบจะไม่ได้ทำงานหนักเลย

2) Need ที่ใช้อย่างกริยาช่วย ไม่นิยมนำไปแต่งประโยคหรือพูดในข้อความที่เป็นบอกเล่า (Affirmative) แต่นิยมนำมาใช้ในประโยคคำถาม (Interrogative) หรือประโยคปฏิเสธ (Negative) หรือในประโยคที่มีข้อความเป็นครึ่งปฏิเสธ (Negative Implication) เท่านั้น เช่น

คำถาม : Need you continue your studies abroad ?

คุณต้องการเรียนต่อต่างประเทศหรือ ?

ปฏิเสธ : They needn’t smoke cigarettes.

พวกเขาไม่ต้องการสูบบุหรี่

กึ่งปฏิเสธ : I need hardly have free time.

ผมแทบจะไม่ค่อยมีเวลาว่างเลย
Dare

Dare แปลว่า “กล้า, ท้า” เป็นกริยา Anomalous Verb ที่มีคติเช่นเดียวกับ Need นั่นคือจะใช้อย่างกริยาแท้ (Finite Verb) ก็ได้หรือจะใช้อย่างกริยาช่วย (Helping-verb) ก็ได้ ซึ่งมีรายละเอียดการใช้ดังต่อไปนี้

. ใช้อย่างกริยาแท้มีหลักดังนี้



1) Dare ที่ใช้อย่างกริยาแท้ กริยาตัวอื่นที่ตามหลังต้องเป็นรูป Infinitive With “to” และตัวกริยา dare นั้นหากประธานเป็นเอกพจน์ ปัจจุบันกาลต้องเติม s หรือ ed เมื่อเป็นอดีตกาล เช่น

I dare to swim across this river.

ผมกล้าว่ายข้ามแม่น้ำสายนี้ได้

It dare to run there in time.

มันกล้าที่จะวิ่งไปที่นั่นให้ทันเวลา

2) Dare ที่นำมาใช้อย่างกริยาแท้ เมื่อต้องการทำเป็นคำถามหรือปฏิเสธให้ใช้ Verb to do เข้ามาช่วย เช่น เดียวกับที่ไปช่วยกริยาแท้ตัวอื่น ๆ เช่น

บอกเล่า : He dares to work hard every day.

เขากล้าทำงานหนักทุก ๆ วัน

คำถาม : Does he dare to work hard every day?

เขากล้าทำงานหนักได้ทุกวันหรือ

ปฏิเสธ : He doesn’t dare to work hard every day.

เขาไม่กล้าที่จะทำงานหนักได้ทุกวัน

ข. ใช้อย่างกริยาช่วยมีหลักดังนี้


1) Dare ใช้อย่างกริยาช่วย กริยาตัวอื่นที่ตามหลังเป็น Infinitive Without “to” และ dare ที่นำมาใช้ตามความหมายนี้ ไม่ต้องเติม s แม้ประธานจะเป็นเอกพจน์ ปัจจุบันกาล เช่น

Robert dare visit Thailand alone.

โรเบิร์ทกล้ามาเที่ยวประเทศไทยคนเดี่ยว

We dare walk to school without a bus.

เรากล้าเดินไปโรงเรียนโดยไม่มีรถประจำทาง

2) Dare ที่ใช้อย่างกริยาช่วย เมื่อทำเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธให้เอา dare ขึ้นไปไว้ต้นประโยคได้เลย โดยไม่ต้องลังเลใจอะไรทั้งนั้น เช่น

บอกเล่า : That boy dare go to be near a snake.

เด็กคนนั้นกล้าเข้าไปใกล้งูได้

คำถาม : Dare that boy go to be near a snake.

เด็กคนนั้นกล้าเข้าไปใกล้งูได้หรือ

ปฏิเสธ : They boy daren’t go to be near a snake.

เด็กคนนั้นไม่กล้าเข้าไปใกล้งูหรอก

Ought to


Ought to แปลว่า “ควรจะ” เป็นกริยาช่วยอย่างเดียว (ไม่มีรูป Past ) แต่ถ้าต้องการจะใช้ Past ต้องตามด้วย Perfect Infinitive (คือ Ought + to have + Verb ช่อง 3) อนึ่ง ought to จะใช้ should (ที่แปลว่า “ควรจะ” ) แทนก็ได้ แต่ความหมายของคำว่า “ควรจะ” อ่อนกว่านิดหน่อย ซึ่งมีรายละเอียดของการใช้ดังนี้

1) ใช้แสดงถึงการกระทำอันเป็นหน้าที่หรือสมควรที่จะกระทำ เช่น

You ought to start your job at once. (Present)

คุณควรจะเริ่มงานของคุณเดี๋ยวนี้ได้แล้ว

2) ใช้แสดงความคาดคะเนว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น ๆ ได้ เช่น

Amito left Bangkok at noon; he ought to be in Tokyo by now.

อะมิโต๊ะออกจากกรุงเทพฯเวลาเที่ยง ตอนนี้เขาควรจะถึงโตเกียวเรียบร้อยแล้ว

3) เมื่อทำเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธให้เอา ought ขึ้นไปไว้ต้นประโยคและหรือเติม not ลงข้างหลัง ought ได้ เช่น

He ought not to smoke a cigarette in a bus.

เขาไม่ควรจะสูบบุหรี่บนรถประจำทาง



Ought he to oppose to having the meeting tomorrow?

เขาควรหรือที่จะคัดค้านประชุมวันพรุ่งนี้?



Used to


Used to แปลว่า “เคย” มีรูปเป็น Past Tense เพียงรูปเดี่ยว จะนำ used to มาใช้ก็ต่อเมื่อกล่าวถึงการกระทำที่เป็นปกตินิสัยอยู่ชั่วระยะหนึ่งในอดีต แต่ปัจจุบันการกระทำที่กล่าวถึงนั้นมิได้กระทำหรือเกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะฉะนั้น used to จึงต้องใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นอดีตเสมอ ซึ่งมีรายละเอียดของการใช้ดังต่อไปนี้

1) ใช้ used to + Verb 1 เสมอ เมื่อกล่าวถึงการกระทำที่เคยทำในอดีต เช่น

Jone used to come here very often when he was young.

โจนเคยมาที่นี่เป็นประจำเมื่อตอนเขาเป็นเด็ก

2) Used to เมื่อต้องการทำเป็นประโยคปฏิเสธให้ใช้ did not use to, never used to หรือ used not to + Verb 1 ได้ทั้งนั้น เช่น

She did not use to drink whisky so mush.

หล่อนไม่เคยดื่มเหล้ามากเลย

3) Used to เมื่อทำเป็นคำถามจะใช้ Did เข้ามาช่วยก็ได้ (ส่วนมากนิยมเมื่อเป็นภาษาพูดมากกว่า), หรือจะเอา used ขึ้นไปไว้ต้นประโยคก็ได้

บอกเล่า : Amporn used to play badminton.

อำพรเคยเล่นแบตมินตัน

คำถาม : Did Amporn use to play badminton?

หรือ : Didn’t Amporn use to play badminton?

หรือ : Used Amporn to play badminton?

อำพรเคยเล่นแบตมินตันหรือ

4) เมื่อพูดถึง used to ก็มักจำพบเห็น is used to หรือ am (are, get, become) used to เข้าแทรกซ้อนก่อให้เกิดความสับสนอยู่เสมอ ถามว่าคำเหล่านี้ใช้ต่างกันอย่างไร

- used to + Verb ช่อง 1 แปลว่า “เคย” เช่น

= Subject + used to + Verb 1 เช่น

I used to live here when I was young.

ผมเคยมาอยู่ที่นี่เมื่อตอนผมเป็นเด็ก

- is (am, are, get, become) used to + Verb เติม ing หรือ Noun แปลว่า “คุ้นเคย, เคยชิน”

= Subject + is, am, are, get, become + used to + V-ing หรือ Noun เช่น

Robert is used to eating Thai food.

โรเบิร์ทเคยชินกับการทานอาหารไทยเสียแล้ว

Irregular verb


verb ช่องที่ 1 verb ช่องที่ 2 verb ช่องที่ 3 คำแปล

(Infinitive) (Past Tense) (Past Participle) .

awake อะเวค awoke อะโวค awoke อะโวค ตื่น

be บี was, were วอส,เวอ been บีน เป็น อยู่ คือ

bear แบ bore บอ born, borne บอน เกิด

beat บีท beat บีท beaten บีทเทน ตี ชนะ

become บีคัม became บีเคม become บีคัม กลายเป็น

begin บีกิน began บีแกน begun บีกัน เริ่มต้น

behold บีโฮลด beheld บีเฮลด beheld บีเฮลด สังเกต

bend เบนด bent เบนท bent เบนท ทำให้งอ

bite ไบท bit บิท bitten บิทเทน กัด

break เบรก broke โบรค broken โบรคเคน แตก หัก

cast คาสท cast คาสท cast คาสท เหวี่ยง

cling คลิง clung คลัง clung คลัง ติด

come คัม came เคม come คัม มา

cut คัท cut คัท cut คัท ตัด

dig ดิก dug ดัก dug ดัก ขุด

do ดู did ดิด done ดัน ทำ

drink ดริงค drank แดรงค drunk ดรังค ดื่ม

drive ไดรฟ drove โดรฟ driven ดริฟเวน ขับ

eat อีท ate เอท eaten อีเทน กิน

feel ฟีล felt เฟลท felt เฟลท รู้สึก

find ไฟนด found ฟาวนด found ฟาวนด พบ

flee ฟลี fled เฟลด fled เฟลด หนี

fly ฟลาย flew ฟลิว flown โฟลวน บิน

get เกท got กอท got กอท ได้รับ

give กีฟ gave เกฟ given กีฟเวน ให้

go โก went เวนท gone กอน ไป

hang แฮง hung ฮัง hung ฮัง แขวน ห้อย

have, has แฮฟ แฮส had แฮด had แฮด มี

hit ฮิท hit ฮิท hit ฮิท ตี

hold โฮลด held เฮลด held เฮลด ยึด ถือ

hurt เฮิท hurt เฮิท hurt เฮิท ทำร้าย

keep คีพ kept เคพท kept เคพท เก็บ

know โนว knew นิว known โนวน รู้จัก

lay เล laid เลด laid เลด วางลง

lead ลีด led เล็ด led เล็ด นำ

leap ลีพ leapt เลพท leapt เลพท กระโดด

learn เลิน learnt เลินท learnt เลินท เรียน

lose ลูส lost ลอสท lost ลอสท หาย

make เมค made เมด made เมด ทำ

meet มีท met เมท met เมท พบ

pay เพ paid เพด paid เพด จ่าย

put พุท put พุท put พุท วาง ใส่

read รีด read เรด read เรด อ่าน

rend เรนด rent เรนท rent เรนท แบ่ง

rid ริด rid ริด rid ริด กำจัด

ride ไรด rode โรด ridden ริดเดน ขี่

ring ริง rang แรง rung รัง สั่น (กระดิ่ง)

run รัน ran แรน run รัน วิ่ง

say เซ said เซด said เซด พูด

see ซี saw ซอว seen ซีน เห็น

sell เซล sold โซลด sold โซลด ขาย

shake เซค shook ซูค shaken เซเคน เขย่า

sleep สลีพ slept สเลพท slept สเลพท นอน speak สพีค spoke สโพค spoken สโพเคน พูด

spell สเพล spelt สเพลท spelt สเพลท สะกด

spend สเพนด spent สเพนท spent สเพนท จ่าย

swim สวิม swam สแวม swum สวัม ว่ายน้ำ

take เทค took ทูค taken เทเคน เอาไป

teach ทีช taught ทอจท taught ทอจท สอน

Adverbs
Adverbs แปลว่า “กริยาวิเศษณ์” (บางตำราเรียก “คำวิเศษณ์” เฉยๆ ก็ได้ ) มีไว้สำหรับ “ใช้ทำหน้าที่ขยายกริยา, ขยายคุณศัพท์, ขยายกริยาวิเศษณ์(ด้วยกันเอง) ขยายประโยค, และขยายสรรพนาม บุรพบทวลี และจำนวนนับ” ดังจะขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า ขยายได้อย่างไรมาประกอบการอธิบายพอสังเขปดังต่อไปนี้

ขยายกริยา เช่น : He works hard every day.

เขาทำงานหนักทุก ๆ วัน

(hard เป็น Adverb ขยายกริยา works)

ขยายคุณศัพท์ เช่น : These students are very intelligent.

นักศึกษาเหล่านี้มีสติปัญญามาก

(Very เป็น Adverb ขยายคุณศัพท์ intelligent)

ขยายกริยาวิเศษณ์ เช่น : She drives very carefully.

หล่อนขับด้วยความระมัดระวังมาก

(very เป็น Adverb ขยาย Adverb “carefully”)

ขยายทั้งประโยค เช่น : Fortunately, no one complained of me.

โชคดีแท้ ๆ ไม่มีผู้ใดบ่นถึงผมเลย

(fortunately เป็น Adverb ทำหน้าที่ขยายทั้งประโยคที่ตามหลัง)

ขยายสรรพนาม เช่น : What else can I say?

ผมพูดอะไรอีกได้ไหม?

(else เป็น Adverb มาขยายสรรพนาม what)

ขยายบุรพบทวลี เช่น : You ought to go right to the end of the rood.

คุณควรจะไปทางขวาของสุดถนนนี้

(right เป็น Adverb มาขยายบุรพบทวลี to the end of the road)

ขยายจำนวนนับ เช่น : We go to Bangsaen almost every Sunday.

เราไปเที่ยวบางแสนเกือบทุกวันอาทิตย์

(almost เป็น Adverb มาขยายจำนวนนับ every)
ชนิดของ Adverb

Adverb แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ 3 หมวด คือ

1. Simple Adverb กริยาวิเศษณ์สามัญ

2. Interrogative Adverb กริยาวิเศษณ์คำถาม

3. Conjunctive Adverb กริยาวิเศษสันธาน

แต่ละ Adverb ใหญ่ที่กล่าวมา ยังแบ่งเป็นปลีกย่อยได้ดังนี้ :



  1. 1.1 Simple Adverb (กริยาวิเศษณ์สามัญ) แบ่งออกเป็นปลีกย่อยได้อีก 8 ชนิด คือ

1 Adverb of Time (แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกเวลา”) หมายถึง กริยาวิเศษณ์ที่ใช้ขยายกริยาเพื่อแสดงเวลา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่เป็นคำเดียว ไม่มีคำอื่นมาร่วมด้วย ได้แก่


today, yesterday, tomorrow, late, lately, recently, early, before, tonight, now, then, soon, still, yet, already, just, afterwards, etc.

ประเภทที่มีคำมาประกอบด้วย (Adverbial Phrases of Time) ได้แก่

this morning, in the afternoon, last week, last month, next year, on Sunday, next Monday, before three o’clock, two weeks ago, the day after tomorrow, during summer, in B.E. 2520, in January, on 5th February, etc.

ประเภทที่เป็นประโยคเพื่อมาขยายกริยาแสดงเวลา (Adverbial Clauses of Time แปลว่า “วิเศษณานุประโยคแสดงเวลา”) ซึ่งจะขึ้นต้นประโยคของมันเองด้วยคำเหล่านี้ when, since, until, after, before, as soon as ฯลฯ ส่วนตำแหน่งการวางวิเศษณานุประโยคแสดงเวลานั้นจะอยู่ส่วนใดของประโยคหลักได้ทั้งนั้น เช่น



When you have time, come and see me, please.

เมื่อคุณมีเวลาก็ขอเชิญมาเยี่ยมผมบ้างนะ

Adverb บอกเวลาเมื่อมาขยายกริยามีหลักการวางในประโยค ดังนี้

1. โดยปกติทั่วไปจะวางไว้สุดประโยคเสมอ โดยเฉพาะเมื่อข้อความนั้นเป็นประโยคสั้น ๆ เช่น

Mr.Smith will leave for London tomorrow.

มร.สมิธจะออกเดินทางกลับไปยังกรุงลอนดอนวันพรุ่งนี้



  1. ถ้าต้องการจะเน้นเวลาให้เป็นกรณีพิเศษ ก็ให้วางไว้ต้นประโยค เช่น

Last week we went to Chiengmai by train.

สัปดาห์ที่ผ่านมาเราไปเที่ยวเชียงใหม่โดยทางรถไฟ



3. ถ้ามี Adverbs of Time หลายคำหรือหลายประเภทมาอยู่ในประโยคเดียวกัน ให้วางจากหน่วยเล็กไปหาหน่วยใหญ่ (small units of time come before larger ones) เสมอ เช่น

Ladda’s family is going to visit me at five o’clock in the afternoon on the first of May, 1984.

ครอบครัวของลัดดาจะไปเยี่ยมผมเวลาบ่าย 5 โมงในตอนบ่ายของวันที่ 1 พฤษภาคม 1984.

2. Adverb of Duration (แปลว่า กริยาวิเศษณ์บอกระยะเวลา) ต่างกันกับ Adverb of Time Adverb of Time ก็ตรงที่ว่า Adverb of Time ตอบคำถามว่า when (เมื่อไร) ส่วน Adverb of Duration ตอบคำถามว่า How long (นานเท่าไร) ซึ่งเป็นการให้คำตอบเกี่ยวกับระยะความยาวของเวลาว่า นานเท่าไร ตั้งแต่เวลาไหนถึงเวลาไหน หรือจนกระทั่งถึงไหนเหล่านี้เป็นต้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ


  1. ชนิดกลุ่มคำที่นำหน้าด้วย for เช่น

I have studied English for five years.

ผมได้ศึกษาภาษาอังกฤษมาแล้วเป็นเวลา 5 ปี

(for five years เป็นกริยาวิเศษณ์บอกระยะเวลาของการเรียน)


  1. ชนิดกลุ่มคำที่นำหน้าด้วย from.. to หรือ from.. till “ตั้งแต่.. ถึง ตั้งแต่..จนกระทั่ง” เช่น

My father works from nine to twelve.

คุณพ่อของผมทำงานตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึง 12 นาฬิกา



  1. ชนิดกลุ่มคำที่นำหน้าด้วย till, until, หรือ up to (ทั้ง 3 คำแปลว่า “จนถึง”) เช่น

We will work with this company till next year.

พวกเราจะทำงานอยู่กับบริษัทนี้จนถึงปีหน้า

(till next year เป็น Adverb บอกระยะเวลาการทำงาน)

3. Adverb of Place (แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่) หมายถึง คำหรือกลุ่มคำที่มาทำหน้าที่ขยายกริยา เพื่อบอกสถานที่หรือเพื่อตอบคำว่า “where” (ที่ไหน) Adverb of Place ถ้าดูให้ดีแล้ ส่วนใหญ่ก็ได้แก่ บุรพบท (Preposition) นั่นเอง เช่น : in, on, at, near, off, by, over, abroad, here, there, downstairs, upstairs, down, since, around, after, before, inside, outside etc. คำเหล่านี้ทั้งหมด “ถ้านำมาใช้ตามหลังกริยาโดยไม่มีคำอื่นต่อท้ายมันอีก ก็จะทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ หรือ Adverb of Place ทันที” (แต่ถ้ามีคำอื่นต่อท้ายคำเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นบุรพบทคือ คำเชื่อมตัวอื่น) เช่น

Don’t leave it outside; bring it inside.

อย่าทิ้งไว้ข้างนอก เอาเข้ามาข้างในเสีย

(outside และ inside เป็น Adverb มาขยายกริยา leave และ bring เพื่อบอกสถานที่)

4. Adverb of Frequency (แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ หรือบอกความบ่อยๆ”) หมายถึง คำ หรือ กลุ่มคำที่ไปทำหน้าที่ขยายกริยาเพื่อตอบคำถามว่า How often (บ่อยแค่ไหน) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1) ชนิดที่เป็นคำเดียวได้แก่ always, often, seldom, ever, never, sometimes, rarely, hardly, generally, scarcely, frequently, occasionally, usually และตำแหน่งการวางในประโยคมีดังนี้

1.1 ถ้าประโยคนั้นมี กริยา Verb to be ให้เรียงไว้หลัง Verb to be ตลอดไป เช่น

She is always at home on Sundays.

หล่อนอยู่บ้านเสมอ (ไม่ไปไหน) ในวันอาทิตย์

1.2 ถ้าประโยคนั้นมีแต่กริยาแท้ ให้วางไว้หน้ากริยาตลอดไป เช่น

He seldom goes to the cinema.

เขาไม่ค่อยได้ไปดูหนัง

1.3 ถ้าประโยคนั้นมีกริยาช่วยต่อไปนี้ will, would, shall, should, can, could, may, might, must, need, dare ให้เรียนไว้หลังกริยาเหล่านี้ตลอดไปเช่น

The manager will never agree to my offer.

ผู้จัดการจะไม่เคยเห็นด้วยกับข้อเสนอของผมสักที

1.4 ถ้าประโยคนั้นเป็นประโยคปฏิเสธโดยมี not มาแสดงการปฏิเสธ ให้เรียง Adverb บอกความถี่ไว้หลัง not ตลอดไป เช่น

He does not always work hard,

เขาไม่ค่อยได้ทำงานหนักเท่าไรหรอก

2) ชนิดที่เป็นกลุ่มคำได้แก่ every three months, every day, once a week, twice a month, every other day (วันเว้นวัน), as often as you wish (ตอนไหนก็ได้ที่คุณต้องการ), several times etc.

Adverb บอกความถี่ที่เป็นกลุ่มคำเหล่านี้ เมื่อนำไปพูดหรือเขียนนิยมวางไว้ท้ายประโยคเสมอ เช่น

Somsri visits her home every three months.

สมศรีไปเยี่ยมบ้านเธอทุก 3 เดือน



5. Adverb of Manner (แปลว่า กริยาเศษณ์บอกกริยาอาการ) หมายถึงคำหรือได้แก่ คำที่ไปทำหน้าที่ขยายกริยาเพื่อตอบคำถามว่า How (อย่างไร) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร พฤติกรรมดังกล่าวมานี้จะฟังชัดแจ้งขึ้นได้ ก็ต้องอาศัย Adverb of Manner เข้ามาเป็นตัวกำหนดหรือร่วมวงไฟบูลย์ด้วย

กริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการ ส่วนมากจะมีรูปมาจาก Adjective (คือคุณศัพท์) โดยการเติม ly

ลงข้างหลังคุณศัพท์นั้น แล้วนำมาใช้เป็นกริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการได้ เช่น

เป็น Adjective เป็น Adverb คำแปล

slow Slowly ช้า

bad badly เลว

quick quickly รวดเร็ว, ไว

careful carefully ระมัดระวัง

happy happily มีความสุข

etc. เป็นต้น

หรืออาจเป็นกลุ่มคำโดยมีรูปมาจาก Preposition + นาม (ที่เป็นยานพาหนะ) ก็ได้เช่น by car (โดยรถยนต์), by train (โดยรถไฟ), by boat (โดยเรือ), by plane (โดยเครื่องบิน), by bicycle (โดยรถจักรยาน)by tricycle (โดยรถสามล้อ) etc.

Adverb of Manner บางคำเป็นคำเดียวกับที่ใช้เป็น Adjective โดยไม่เติม ly ข้างหลังก็มีเช่น hard (ยาก, หนัก) fast (รวดเร็ว) แต่ทั้งนี้จะรู้ได้ว่าเป็น Adjective หรือ Adverb นั้น ต้องดูที่ตำแหน่งวางนั่นคือ ถ้าอยู่หน้านามเป็นคุณศัพท์ แต่ถ้าอยู่หลังกริยาก็เป็น Adverb ไปเช่น

He is a hard worker. เขาเป็นคนทำงานหนัก

Somsak works hard สมศักดิ์ทำงานอย่างหนัก

(hard ตัวแรกเป็นคุณศัพท์เพราะวางอยู่หน้านาม worker ส่วน hard ตัวหลังเป็น Adverb บอกกริยาอาการ เพราะเรียงตามหลักกริยา works)

Suchat is a fast runner. สุชาติเป็นนักวิ่งเร็ว

Peter runs fast. ปีเตอร์วิ่งเร็ว

(fast ตัวแรกเป็นคุณศัพท์เพราะเรียงไว้หน้านาม runner ส่วนตัวหลังเป็น Adverb เพราะวางตามหลังกริยา runs)

Adverb of Manner (กริยาวิเศษณ์บอกกริยาอาการ) เมื่อนำมาขยายกริยาในประโยคมีหลักการวางได้ดังนี้


  1. ถ้าประโยคนั้นไม่มีกรรม ให้วางไว้หลังกริยา เช่น

She dances beautifully. หล่อนเต้นรำได้อย่างสวยงาม

  1. ถ้าประโยคนั้นมีกรรม ให้วางไว้หลังกรรม เช่น

My son speaks English well. บุตรชายของผมพูดภาษาอังกฤษเก่ง

  1. ถ้าประโยคนั้น Adverb of Manner มาขยายทั้งกริยาและกรรมร่วมกัน (Modifies the verb and object together) ให้วางไว้หลังกรรมตลอดไป เช่น

Laddawan speaks English fluently.

ลัดดาวัลย์พูดภาษาอังกฤษได้คล่อง.



4) ถ้าประโยคนั้นเป็นประโยคอุทาน และขึ้นต้นประโยคด้วย how ให้วาง Adverb บอกกริยาอาการไว้หลัง how ตลอดไปเช่น

How nicely she dances. หล่อนเต้นรำช่างสวยงามแท้



5) ในประโยคกรรมวาจก (Passive Voice) ถ้ามี Adverb บอกกริยาอาการมาขยายให้เรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 (Past Participle) เช่น

Soonthorn Poo, the great poet of Thailand, is well known among students.

สุนทรภู่นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทยเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเรียนนักศึกษา

(well เป็น Adverb บอกกริยาอาการ เมื่อนำมาใช้ขยายกริยาในประโยคกรรมวาจาต้องเรียงหน้ากริยาช่อง 3 คือ known)

The report of Thai economics has been carefully done by the economic expert.

รายงานเรื่องเศรษฐกิจไทยได้จัดทำขึ้นมาอย่างรอบคอบโดยผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะ) (carefully เป็น Adverb บอกกริยาอาการ เมื่อมาขยายกริยาในประโยคกรรมวาจา ก็ต้องเรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 คือ done)



6) Adverb บอกกริยาอาการบางตัวเช่น greatly, strongly, หรือ thoroughly นิยมวางไว้ ระหว่างประธานและกริยาเสมอ แม้ประโยคนั้นจะสั้นหรือยาวก็ตาม เช่น

Somsak greatly admires his father.

สมศักดิ์ชมเชยพ่อของเขาอย่างใหญ่หลวง

7) สำหรับกริยาวลี (Phrasal Verb) บางตัวเช่น Come in (เข้ามาข้างใน) go out (ออกไปข้างนอก) ถ้ามี Adverb บอกกริยาอาการเฉพาะที่ลงท้ายด้วย “ly” มาขยาย จะเรียงไว้หน้ากริยาและหรือท้ายประโยคได้ทั้งนั้น เช่น

Sawat quietly came in. หรือ Sawat came in / quietly.

Mary slowly went out. หรือ Mary went out slowly.


  • สวัสดิ์เข้ามาข้างในอย่างเงียบๆ

  • แมรี่เดินออกไปข้างนอกอย่างช้าๆ

แม้ไปพบเห็นประโยคอื่น ๆ ก็ให้นำเอาตัวอย่างนี้ไปเทียบเคียงได้

6. Adverb of Quantity (ตำราบางเล่มเรียก Adverb of Degree) แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณหรือบอกระดับความมากน้อย หมายถึงคำที่ไปขยาย Adjective (คุณศัพท์) หรือ ขยายคำ Adverb (กริยาวิเศษณ์) ด้วยกันเองก็ได้ เพื่อบอกให้ทราบถึงปริมาณว่ามากน้อยขนาดไหน ได้แก่คำต่อไปนี้

very, quite, too, rather, fairly, nearly just, almost, enough, extremely, absolutely, much, entirely, completely, really, so, only เป็นต้น Adverb บอกปริมาณ เมื่อไปขยายคำใด ก็ให้วางไว้หน้าคำนั้น คือหน้าคำที่มันไปขยาย เช่น

He has too much money to give me.

เขามีเงินมากเหลือเกินที่จะให้ผม



7. Adverb of Affirmation or Negation (แปลว่า กริยาวิเศษณ์ที่แสดงการกล่าวรับหรือปฏิเสธ) หมายถึงคำที่ไปขยายกริยาเพื่อบอกให้ทราบถึงการกล่าวรับหรือกล่าวปฏิเสธ ได้แก่คำต่อไปนี้คือ

yes, no, not, surely, certainly, perhaps, probably, indeed, definitely, obviously, etc.

He did not come here. เขายังไม่มาที่นี่เลย


  1. Adverb of Exclamation (แปลว่า กริยาวิเศษณ์บอกอุทาน) หมายถึงคำที่ไปขยายคุณศัพท์ หรือ Past Participle (คือ Verb ช่อง 3 ที่นำมาใช้อย่างคุณศัพท์) ในประโยคอุทานได้แก่ How (แท้หนอม เหลือหลาย, อะไรอย่างนี้) และตำแหน่งการวาง how ที่นำมาใช้ในรูปประโยคอุทาน ต้องการไว้หน้าประโยคเสมอ โดยมีรูป Pattern ได้ดังนี้

How + Adjective + Subject + Verb to be

How happy we were เรามีความสุขกันแท้หนอ


1   2   3   4   5   6


Verilənlər bazası müəlliflik hüququ ilə müdafiə olunur ©atelim.com 2016
rəhbərliyinə müraciət