Ana səhifə

Personal oronoun


Yüklə 311.5 Kb.
səhifə1/6
tarix27.06.2016
ölçüsü311.5 Kb.
  1   2   3   4   5   6




Pronouns

Pronouns แปลว่า “ สรรพนาม “ มีไว้สำหรับ “ ใช้แทนชื่อจริงของคน , สัตว์ , สิ่งของ , และสถานที่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เอ่ย ชนิด ชื่อจริงนั้น ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ซึ่งเป็นการฟังไม่เพราะหู “ ในภาษาอังกฤษ แบ่ง Pronouns ออกเป็น 8 ชนิด คือ

  1. Personal ORONOUN บุรุษสรรพนาม

  2. Possessive Pronoun สามีสรรพนาม

  3. Definite Pronoun นิยมสรรพนาม

  4. Indefinite Pronoun อนิยมสรรพนาม

  5. Interrogative Pronoun ปฤจฉาสรรพนาม

  6. Relative Pronoun ประพันธ์สรรพนาม

  7. Reflexive Pronoun สรรพนามสะท้อน

  8. Distributive Pronoun วิภาคสรรพนาม

1.1 Personal Pronoun แปลว่า “บุรุษสรรพนาม” มีไว้สำหรับใช้แทนชื่อจริงของผู้พูด แทนชื่อจริงของผู้ฟัง , และแทนชื่อจริงของบุคคลหรือสัตว์ , สิ่งของ ทึ่เราเอ่ยถึง บุรุษสรรพนาม แบ่งออกเป็น 2 พจน์ และ 3 บุรุษ ได้ดังนี้

เอกพจน์ พหูพจน์

บุรุษที่ 1 : I (ฉัน , ผม) We (พวกเรา , เรา)

- ใช้แทนชื่อผู้พูดคนเดียว - ใช้แทนชื่อผู้พูดหลายคน

บุรุษที่ 2 : You (คุณ , ท่าน) You (พวกคุณ , พวกท่าน)

- ใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วยคนเดียว - ใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วยหลายคน

บุรุษที่ 3 : He (เขา)


  • ใช้แทนชื่อผู้ชายคนเดียวที่เราพูดถึง

: She (หล่อน , เธอ)

  • ใช้แทนชื่อผู้หญิงคนเดียวที่เราพูดถึง They (พวกมัน ,พวกเขา)

: It (มัน)

-ใช้แทนชื่อสัตว์, สิ่งของ



We (พวกเรา, เรา)

-ใช้แทนชื่อผู้พูดหลายคน

You (พวกคุณ, พวกท่าน)

-ใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วยหลายคน


They (พวกมัน, พวกเขา)

-ใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดถึงหลายคน หลาย สิ่งและหลายสถานที่

และสถานที่ที่เราพูดถึงสิ่ง

เดียว , อันเดียว







นอกจากนี้แล้ว Personal Pronoun ยังแจกออกไปได้อีก 5 รูป ตามหน้าที่การใช้ทางไวยากรณ์ คือ



Nominative Case

(ใช้เป็นประธาน)



Accusative Case

(ใช้เป็นกรรม)


Possessive


Adjective

(คุณศัพท์เจ้าของ)


Possessive


Pronoun

(สรรพนามเจ้าของ)



Reflexive
(เน้น , ย้ำ)

I

We

You



He

She


It

They


me

us

you



him

her


It

Them


my

our


your

his


her

Its


their

mine

ours


yours

his


hers

Its


theirs

myself

ourselves

yourself:, - ves

himself


herself

Itself


themselves
หน้าที่ของ Persona; Pronoun

Personal Pronoun รูปที่ 1 ได้แก่ I, We, You, He, She, It และ They ใช้ทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้

  1. ใช้ทำหน้าที่เป็นประธาน (Nominative Case) ขอกริยาในประโยค เช่น

I Know everything from him.

ผมรู้ทุกสิ่งจากเขา




  1. ใช้ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา (Subjective Complement) ซึ่งส่วนมากจะวางตามหลัง Verb to be เสมอเช่น

If I were he , I wouldn ‘ t go there exactly.

ถ้าผมเป็นเขา ผมจะไม่ไปที่นั่นอย่างเด็ดขาด


Personal Pronoun รูปที่ 2 มีวิธีใช้ทำหน้าที่ได้ดังนี้

1) ใช้ทำหน้าที่เป็นกรรม (object) ของกริยาในประโยคได้ เช่น

Amnat meets me at school every day.

อำนาจพบกับผมที่โรงเรียนทุกวัน

2) ใช้ทำหน้าที่เป็นกรรม (object) ของ Preposition ได้ เช่น

My father thought of me a lot when I left him for Bangkok.

คุณพ่อของฉันคิดถึงฉันมากเมื่อตอนฉันได้จากท่านไปกรุงเทพฯ

3) ใช้ทำหน้าที่เป็นประธานของ Infinitive ได้ เช่น

He asked me to work with him here.

เขาขอร้องผมให้ทำงานอยู่กับเขาที่นี่

(me เป็นประธานของ to work)

การใช้ It ภาคสมบูรณ์

  1. ใช้กับสัตว์ , สิ่งของ , สถานที่ เช่น

This is my dog.It is a grateful animal.

นี่คือสุนัขของฉัน มันเป็นสัตว์ที่รู้คุณเจ้าของได้ดีมาก



  1. ใช้เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ , เวลา , ระยะทาง เช่น

It is very hot today. วันนี้อากาศร้อนมาก

It is raining too much outside. ข้างนอกฝนกำลังตกมาก

  1. ใช้เป็นประธานของ Verb to be ในกรณีที่ไปนำหน้า Clause หรือ Phrase ต่าง ๆ เช่น

It is probable that it will rain today.

มีทางเป็นไปได้ที่ว่าวันนี้ฝนจะตก



It is very easy to do this job.

ง่ายมากที่จะทำงานนี้



  1. ใช้กับเด็กทารกที่เกิดใหม่หรือเด็กเล็ก โดยเฉพาะเมื่อผู้พูดยังไม่ทราบเพศมากก่อนหรือกล่าวโดยไม่คำนึงถึงเพศ เช่น

Look at that long – haired child. It is pretty.

ดูเด็กผมยาวคนนั้นซิ แหมน่ารักจัง

The baby is in bad. It is crying.

เด็กนอนอยู่ที่เตียง แกกำลังร้องไห้อยู่



  1. ใช้ It ในสำนวนของประโยค Passive Voice ต่อไปนี้ เช่น

It is said that……….. กล่าวกันว่า………

It is hoped that……… หวังกันว่า……….

It is believed that……….. เชื่อกันว่า………..

It is understood well that…….. เป็นที่เข้าใจกันดีว่า………

e.g. It is believed that negligence is the path of death.

เชื่อกันว่าความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย



การใช้ Subject Form และ Object Form


ตามหลัง Verb to be และคำที่คล้าย Verb to be

1. ให้ใช้สรรพนามที่เป็นรูปกรรม (Object Form) เมื่อไปตามหลัง Verb to be ในประโยคว่า

It ‘ s……


That ‘ s……..

This is……….. เช่นประโยคว่า

Who is that ? It ‘ s me. (อย่าใช้ It’ s I.)

นั่นใคร ? ผมเองครับ

2. ตามหลัง Verb to be ในประโยคต่อไปนี้จะใช้รูปที่เป็นประธานหรือรูปที่เป็นกรรม ย่อมได้ทั้งนั้น สุดแท้แต่ความหมายหรือใจความของประโยคนั้นว่าอยู่ในลักษณะไหนคือเป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำของประโยคที่ตามหลัง ตัวอย่างเช่น :

2.1 ให้ใช้ Pronoun ที่เป็นรูปประธาน (Subject Form) เพราะอยู่ในลักษณะเป็นผู้กระทำในประโยคที่ตามหลัง เช่น :

It was I who bought this house last year.

ผมนี่แหละได้ซื้อบ้านหลังนี้ไว้เมื่อปีที่แล้ว

(ใช้ I เพราะอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำกริยาคือ bought)

2.2 ให้ใช้ Pronoun ที่เป็นรูปกรรม (Object Form) เพราะอยู่ในลักษณะที่เป็นผู้ถูกกระทำ พูดง่าย ๆ ก็คือเป็น Object ของกริยาในประโยคที่ตามกลัง เช่น

It is them whom we are looking for.

ก็พวกเขานี้แหละที่เรากำลังตามหาอยู่

(ใช้ them เพราะอยู่ในฐานเป็นกรรมของ looking for)

อนึ่ง กฎข้อ 2.1 และ 2.2 นี้ให้รวมถึงการใช้ Pronoun ตามหลัง except ด้วย นั่นคือ

. ถ้าอยู่ในฐานเป็นผู้กระทำ ให้ใช้รูปที่เป็นประธาน เช่น

No one except he who could speak French.

ไม่มีใครนอกจากเขาที่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้

(ใช้ he เพราะอยู่ในฐานเป็นผู้กระทำ could speak)

ข. แต่ถ้าอยู่ในฐานเป็นผู้ถูกกระทำ ให้ใช้ Pronoun ที่เป็นรูปกรรม เช่น


No one except him whom she failed in love.

นอกจากเขาแล้วก็ไม่มีใครหรอกที่หล่อนตกหลุมรัก

(ใช้ him เพราะเป็นกรรมของกริยา failed in love)

3. Pronoun ที่เรียงตามหลัง Let ให้ใช้รูปที่เป็น Object Form คือรูปที่เป็นกรรมตลอดไป เช่น

Let me congratulate you on winning the prize.

ขอผมแสดงความยินดีกับคุณที่ได้รับรางวัลหน่อยเถอะ

Don’ t Let him live here alone , please.

กรุราอย่าให้เขาพักอยู่ที่นี่คนเดียวนะ

(ใช้ me และ him อย่าใช้ I หรือ he เป็นอันขาด)

4. Pronoun ที่ตามหลัง than จะใช้รูปประธานก็ได้หรือรูปกรรมก็ได้ สุดแท้แต่ความมุ่งหมายของผู้พูดและ than นั้นมักจะมี more อยู่หน้าเสมอ เช่น

I love you more than she.

ผมรักคุณมากกว่าหล่อน

(หมายความว่า ผมรักคุณมากกว่าหล่อนรักคุณ ดังนั้นเมื่อหล่อนก็เป็นผู้ไปรักคุณแข่งกับผม หล่อนจึงอยู่ในฐานเป็นประธานจึงใช้ she เพราะมุ่งเป็นผู้กระทำ)



5. ตามหลัง as…..as จะใช้รูปที่เป็นประธานก็ได้ กรรมก็ได้ สุดแท้แต่ความหมายของผู้พูด เช่น

He likes her as much as I.

เขาชอบเธอมากเท่ากันกับผม

(หมายความว่า เขาชอบเธอมากเท่ากันกับที่ผมชอบ ผมอยู่ในฐานเป็นผู้ไปชอบ มุ่งความเป็นผู้กระทำ จึงใช้ I )

6. ตามหลัง such as จะใช้รูปประธานหรือกรรมได้ทั้งนั้น สุดแท้แต่ความมุ่งหมายของผู้พูดอีกเช่นกัน เช่น

I hive them money such as she.

ฉันให้เงินพวกเขาเช่นเดียวกันกับหล่อน (ให้)

(หมายความว่า ผมให้เงินเขาเช่นเดียวกับที่หล่อนให้ ดังนั้นหล่อนอยู่ในฐานเป็นผู้ให้ (ผู้กระทำ) จึงใช้ she)



7. Pronoun ที่มาตามหลัง between (ระหว่างของ 2 อย่าง) ต้องใช้รูปกรรม (Object Form) ตลอดไป เช่น

The principal is standing between him and me.

อาจารย์ใหญ่กำลังยืนอยู่ระหว่างเขาและผม

8. But ในกรณีที่แปลว่า “ นอกจาก , ยกเว้น ” (except) เมื่อมี Pronoun มาตามหลังให้ใช้รูปที่เป็นประธาน (Subject Form) ตลอดไป เช่น

All but he could pass the examination.

ทั้งหมดนอกจากเขา (คนเดียว) สอบได้ทั้งนั้น

All but I had escaped.

ทั้งหมดยกเว้นผมได้หนีไปแล้ว



2.2 Possessive Pronoun แปลว่า “ สามีสรรพนาม ” หมายถึงสรรพนามที่ใช้แทนนามในกรณีแสดงความเป็นเจ้าของ ถ้ามองให้ลึกซึ้งอย่างถ่องแท้แล้ว Possessive Pronoun ก็มิใช่คำอื่นที่ไหน แท้ที่จริงแล้วก็ได้แก่ Personal Pronoun คือ บุรุษสรรพนาม รูปที่ 4 นั่นเอง ได้แก่ .-

mine = ของผม , ของฉัน

oure = ของเรา

yours = ของท่าน

his = ของเขา

hers = ของหล่อน

its = ของมัน

theirs = ของพวกเขา



3.3 Definite Pronoun แปลว่า “ นิยมสรรพนาม ” ได้แก่สรรพนามที่ใช้แทนนามในความหมายชี้เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม นิยมสรรพนามที่สำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ .-

This, These , That , Those , one , ones , ในจำนวน 6 ตัวนี้ จำแนกวิธีใช้ได้ดังนี้


This , That , one 3 ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์

These , Those , ones 3 ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์

ซึ่งมีรายละเอียดการใช้แทนได้ ดังนี้ .-

This แปลว่า “ นี้ ” ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์และสิ่งนั้นต้องอยู่ใกล้ตัวผู้พูดด้วย จึงจะใช้ This ได้เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น .-

This is an interresting book.

นี่คือหนังสือที่น่าสนใจ (This เป็นประธาน)

Which book do you want ? I want this.

หนังสือเล่นไหนคุณต้องการ ? ฉันต้องการเล่นนี้

(this เป็น Object ของ want)

That แปลว่า “ นั้น ” ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์และสิ่งนั้นต้องอยู่ห่างไกลผู้พูดจึงจะใช้ That แทนได้ เป็นได้ทั้งประธานและกรรมเช่นกัน เช่น .-

That is the thing I need.

นั้นคือสิ่งที่ผมต้องการ (That เป็นประธานของ is)

I used to do that before.

ผมเคยทำสิ่งนั้นมาก่อนแล้ว

(That เป็นนิยมสรรพนาม ทำหน้าที่เป็น Object ของ do)
One ตามความหาายเดิมแปลว่า “ หนึ่ง ” แต่เมื่อนำมาใช้เป็นนิยมสรรพนาม (Definite Pronoun) แล้ว คำแปลย่อไม่คงที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ one ไปแทน หมายความว่า one ไปแทนนามอะไรก็ให้แปลเป็นนามตัวนั้นได้เลย และเป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น .-

Which car do you possess ? I possess the red one.

คุณเป็นเจ้าของรถยนต์คันไหน ? ผมเป็นเจ้าของรถคันสีแดง

(one เป็นนิยมสรรพนาม ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยา possess)



These แปลว่า “ เหล่านี้ ” ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์และอยู่ใกล้ตัวผู้พูด จึงจะใช้ These แทนได้ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น

เป็นประธาน : These are students. เหล่านี้คือนักศึกษา

(These เป็นประธานของกริยา are)

เป็นกรรม : He can’ t understand the exercises. Can you explain these to him ?

เขาไม่เข้าใจแบบฝึกหัดได้ คุณสามารถอธิบายแบบฝึกหัดเหล่านี้ให้เขาฟังได้ไหม ?

(These เป็นนิยมสรรพนาม ทำหน้าที่เป็นกรรมของ explain)



Those แปลว่า “ เหล่านั้น ” ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์และสิ่งนั้นต้องอยู่ห่างไกลจากผู้พูด เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น

เป็นประธาน : Those are foreigners. They have been here for two weeks.

เหล่านั้นคือชาวต่างประเทศ พวกเขาได้มาอยู่ที่นี่เป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้ว

(Those เป็นนิยมสรรพนาม ทำหน้าที่เป็นประธานของ are)

เป็นกรรม : He had done those before he came here.

เขาได้ทำสิ่งเหล่านั้นแล้วก่อนที่จะมาที่นี่

(Those เป็นนิยมสรรพนาม ทำหน้าที่เป็นกรรมของ done)

Ones ตามความหมายเดิมก็ต้องแปลว่า “ พวกหนึ่ง , เหล่าหนึ่ง ” แต่เมื่อนำมาใช้เป็นนิยมสรรพนาม (Definite Pronoun) แล้วคำแปลย่อมไม่คงที่เช่นเดียวกับ one รูปเอกพจน์นั่นแหละ เป็นแต่ว่า ones (ที่เติม s ) คำนี้ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น :

เป็นประธาน : The books in the shelf are dear , but the ones on the table are cheap.

หนังสือที่อยู่บนหิ้งราคาแพง แต่หนังสือที่อยู่บนโต๊ะราคาถูก

(ones เป็นนิยมสรรพนาม ทำหน้าที่เป็น subject ของ are)

เป็นกรรม : Which oranges will you have ? I will have the big ones.

คุณจะทานส้มอันไหน ? ผมจะทานส้มลูกใหญ่

(ones เป็นนิยมสรรพนาม ทำหน้าที่เป็นกรรมของ have)
4.4 Indefinite Pronoun แปลว่า “ อนิยมสรรพนาม “ หมายถึง “ สรรพนามซึ่งเป็นคำที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป โดยมิได้ชี้เฉพาะเจาะจงว่า แทนคนนั้นคนนี้โดยตรง “ อนิยมสรรพนาม ได้แก่คำต่อไปนี้คือ

some = บางคน , บางอย่าง

any = บางคน , บางอย่าง

none = ไม่มีผู้ใด

all = ทั้งหมด

Somenoe = บางคน

Something = บางสิ่ง

Somebody = บางคน

anybody = บางคน

anyone = บางคน

few = นิดหน่อย

everyone = ทุกคน

everything = ทุกสิ่ง

many = มาก

nobody = ไม่มีใคร

others = อื่น ๆ etc.

คำเหล่านี้เป็น Indefinite Pronoun (อนิยมสรรพนาม) ทั้งนั้น เมื่อนำมาพูดหรือเขียนก็สามารถเป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น :

There are many people at the party. Some are eating, but some are drinking.

มีคนเป็นจำนวนมากที่งานเลี้ยงสังสรรค์ บางคนก็กำลังทาน แต่บางคนก็กำลังดื่ม

(some ทั้ง 2 คำ เป็นประธานของกริยา)

When I went by this house last night , I did not see anyone in it.

เมื่อฉันเดินผ่านบ้านหลังนี้ไปเมื่อคืนนี้ ไม่เห็นมีใครอยู่ข้างในเลย

(anyone เป็นกรรมของกริยา see)
5.5 Interrogative Pronoun แปลว่า “ ปฤจฉาสรรพนาม ” ได้แก่ สรรพนามที่ใช้แทนนามสำหรับคำถามและต้องไม่มีนามตามหลังด้วย จึงจะถือได้ว่า “ เป็นปฤจฉาสรรพนาม ” ได้แก่คำต่อไปนี้คือ : - who, whom , whose , what , which , ซึ่งมีรายละเอียดของการใช้แทนนามเพื่อเป็นคำถามดังต่อไปนี้ .-

Who (ใคร) ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นประธานของกริยาในประโยคได้ เช่น :-

Who wants to take a part in the football match ?

ใครต้องการที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ?


Whom (ใคร) ใช้ถามถึงบุคคล และ เป็นกรรมของกริยาหรือบุรพบท ได้ทั้งนั้น เช่น : -

Whom do you wish to see ?

คุณอยากจะพบใครครับ ?



Whom shall I marry next year ?

ฉันจะแต่งงานกับใครดีปีหน้า ?



Whose (ของใคร) ใช้ถามถึงเจ้าของที่เป็นบุคคล และต้องไม่มีนามตามหลังด้วย เช่น : -

Whose is the red car standing outside ?

รถยนต์สีแดงของใครกำลังจอดอยู่ข้างนอก ?



What (อะไร) เป็นสรรพนามที่ใช้ถามถึงสิ่งของเป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น : -

What is in this box ?

อะไรอยู่ในกล่องนี้ ? (what เป็นประธาน)



What delayed you this morning ?

อะไรทำให้คุณล่าช้าไปหน่อยเมื่อเช้านี้ (what เป็นประธาน)



What does she do here every day ?

หล่อนทำอะไรอยู่ที่นี่ทุก ๆ วัน ? (what เป็นกรรมของ do)



Which (อันไหน) ใช้ถามถึงสัตว์ , สิ่งของ มีความหมายเท่ากับว่า ตัวไหน ? อันไหน ? เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น : -

Which is the best ? อันไหนดีที่สุด ?

The green one is the best. สีเขียวดีที่สุด (Which เป็นประธาน)



Which do you prefer , Pepst and Cola?

คุณชอบอันไหนมากกว่าระหว่างเป๊ปซี่และโคล่า ?

(Which เป็นกรรมของ prefer)

หมายเหตุ : Which นอกจากจะใช้ถามถึงสัตว์ , สิ่งของแล้ว , จะนำมาใช้ถามถึงบุคคลก็ได้ ถ้าผุ้ถามถามเพื่อให้เลือกเอาจากจำนวน 2 หรือจากจำนวนที่จำกัดไว้ เช่น : -

There are children and adults. Which do you want to help ?

มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คุณต้องการช่วยเหลือคนไหน ?



Which are your children in this photo ?

คนไหนคือลูก ๆ ของท่านในภาพนี้ ?



6.6 Relative Pronoun แปลว่า “ ประพันธ์สรรพนาม ” หมายถึง “ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้าและในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าหลังให้สัมพันธ์กัน หรือเป็นประธานหรือเป็นกรรมของประโยคหลังได้ด้วย ” ประพันธ์สรรพนามที่นิยมใช้กันแพร่หลายได้แก่ : - who , whom , whose , which , where , what , when , why , และ that คำเหล่านี้เมื่อมาใช้เป็น Relative Pronoun แล้วมิได้แปลตามความหมายเดิมของมัน ยกตัวอย่างเช่น who ตามความหมายเดิมแปลว่า “ ใคร “ แต่ถ้านำมาใช้เป็น Relative Pronoun แล้วก็กลับไปแปลว่า “ ผู้ซึ่ง , ผู้ที่ “ ซึ่งอันนี้ขอให้นักศึกษาเข้าใจไว้ด้วยและต่อไปนี้อาจารย์จะได้อธิบายให้ละเอียดเป็นตัว ๆ ไป ขอให้นักศึกษาทำใจให้เป็นสมาธิ สดับตรับฟังอย่างพร้อมเพรียงกันเพราะประพันธ์สรรพนามนี้ค่อนข้างเข้าใจยากหน่อย หากไม่ตั้งใจอ่านด้ายดี เอาละเริ่มแล้วนะ !

Who (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคล และบุคคลนั้นต้องเป็นผู้กระทำด้วย จึงจะใช้ who ไปเป็นประพันธ์สรรพนามแทนได้ เช่น : -

He is the postman who brings a letter for us at home.

เขาคือบุรุษไปรษณีย์ผู้ซึ่งนำจดหมายมาส่งให้เราที่บ้าน

คำว่า “ who “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ได้ 3 อย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกันคือ



  1. เป็นคำแทนนาม the postman ที่อยู่ข้างหน้า

  2. เป็นประธานของกริยา brings ให้กับประโยคที่ตามหลัง

  3. เป็นคำเชื่อม (Conjunctive) ระหว่างประโยคหน้าคือ He is the postman กับประโยคหลังคือ brings a letter for us at home ให้สัมพันธ์กลมกลืนกัน

The boy who studies hard can pass the examination easily. เด็กผู้ซึ่งศึกษาอย่างจริงจังสามารถสอบไล่ผ่านได้อย่างง่ายดาย

คำว่า “ who “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 2 อย่างในเวลาเดียวกันคือ



  1. เป็นคำแทนนาม boy ที่อยู่ข้างหน้า

  2. เป็นประธานของกริยา studies ในประโยคที่ตามหลัง

Whom (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและเมื่อไปแทนแล้ว whom อยู่ในฐานะเป็นผู้ถูกกระทำตลอดไป เช่น : -

This is the student whom his teacher punished.

นี้คือนักศึกษาผู้ซึ่งครูของเขาทำโทษ

คำว่า “ whom “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 3 อย่างคือ



  1. เป็นคำแทนนาม student ที่อยู่ข้างหน้า

  2. เป็นกรรมของกริยา punished ในประโยคหลัง

  3. เป็นคำเชื่อมประโยคหน้าหลังให้สัมพันธ์กัน

The singer whom I saw at Siam Square is Sayan Sanya.

นักร้องผู้ซึ่งผมได้พบที่สยามสแควร์คือคุณสายัณห์ สัญญา

คำว่า “ whom “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ


  1. เป็นคำแทนนาม singer ที่อยู่ข้างหน้า

  2. เป็นกรรมของกริยา saw ในอนุประโยค


Whose (ผู้ซึ่ง….ของเขา) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคล เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของของนามที่ตามหลัง และให้สังเกตไว้ด้วยว่าหลัง whose ต้องมีนามเสมอ เช่น : -

Sanit is the boy whose father died in the war.

สนิทคือเด็กชายผู้ซึ่งบิดาของเขาได้เสียชีวิตในสงคราม

คำว่า “ Whose “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 3 อย่างคือ



  1. เป็นคำแทนนาม boy ที่อยู่ข้างหน้า

  2. เป็นคำแสดงความเป็นเจ้าของของ father ที่ตามหลัง

  3. เป็นคำเชื่อมข้อความของประโยคหน้าและหลังให้สัมพันธ์กัน

The girl whose mother has gone to Japan is my cousin.

เด็กหญิงผู้ซึ่งแม่ของเธอได้ไปประเทศญี่ปุ่นเป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน

คำว่า “ whose “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ


  1. เป็นคำแทนนาม girl ที่อยู่ข้างหน้า

  2. เป็นคำแสดงความเป็นเจ้าของของ mother ที่ตามหลัง

Which (ที่ , ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ , สิ่งของ ทั้งในรูปที่เป็นประธานและกรรมได้ทั้งนั้น เช่น


The animal which has wings is a bird.

สัตว์มีปีกนั้นคือนก

คำว่า “ which “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ


  1. เป็นคำแทนนาม animal ที่อยู่ข้างหน้า

  2. เป็นประธานของประโยคหลังคือ has wings

This is the ticket which I bought for you.

นี้คือตั๋วซึ่งผมได้ซื้อมาให้คุณ

คำว่า “ Which “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 3 อย่างคือ


  1. เป็นคำแทนนาม ticket ที่อยู่ข้างหน้า

  2. เป็นกรรมของกริยา bought ในอนุประโยค

  3. เป็นคำเชื่อมระหว่างประโยคหน้าและหลังให้สัมพันธ์กัน

What (อะไร , สิ่งที่) ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของและนามที่ Whatไปแทนนั้นจะไม่ปรากฎให้เห็นอยู่ข้างหน้า เหมือนประพันธ์สรรพนามตัวอื่น ทั้งนี้เพราะถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจกันแล้ว เช่น : -

I know what is in this box.

ฉันรู้ว่าอะไรอยู่ในกล่องนี้

คำว่า “ What “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 3 อย่างคือ



  1. เป็นคำแทนนาม (คือ thing) ที่อยู่ข้างหน้าแต่ละไว้ในฐานที่เข้าใจแล้ว (Relative without antecedent)

2. เป็นประธานของกริยา is ในอนุประโยค

3. เป็นคำเชื่อมประโยคหน้าและประโยคหลังให้สัมพันธ์กัน



When (ที่ , ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา , วัน , เดือน , ปี เช่น : -

Sunday is the day when we don ‘ t go to work.

วันอาทิตย์คือวันที่เราไม่ไปทำงาน

คำว่า “ When “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ

1. เป็นคำแทนนาม the day ที่อยู่ข้างหน้า

2. เป็นคำเชื่อมประโยคหน้าและหลังให้สัมพันธ์กัน



Why (ทำไม) ใช้แทนนามที่เป็นเหตุเป็นผล (ส่วนมากนิยมใช้แทน reason) เช่น : -

That ‘ s the reason why I killed him.

นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมผมจึงฆ่าเขา

คำว่า “ why “ ในประโยคนี้เป็น Relative Pronoun ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ

1. เป็นคำแทนนาม reason ที่อยู่ข้างหน้า

2. เป็นคำเชื่อมประโยคหน้าและหลังให้สัมพันธ์กัน



That (ที่ , ซึ่ง) การนำเอา that มาใช้เป็น Relative Pronoun นั้น นับว่าเป็นเรื่องยุ่งยากสลับซับซ้อนพอสมควร ทั้งนี้เพราะเหตุว่า that เมื่อใช้อย่างประพันธ์สรรพนามแล้ว ใช้แทนได้กับทั้งคน , สัตว์ , สิ่งของ , และสถานที่ ตรงนี้แหละจึงได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้นมา ซึ่งผิดกับ Relative Pronoun ตัวอื่น อย่างไรก็ตามเพื่อมิให้สับสนว่ากรณีเช่นไรจะใช้ that หรือไม่นั้น ก็ขอบอกให้ทราบว่านามที่จะเอา that ไปใช้ทำหน้าที่เป็น Relative Pronoun ได้ นามตัวนั้นจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ประการ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง แล้วจึงจะใช้ that ได้ หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ 4 ประการนี้แล้ว อย่างได้ใช้ that มาเป็นประพันธ์สรรพนามเชียวละ หลักเกณฑ์ 4 ประการนั้นได้แก่ : -

1) นามที่จะเอา that ไปเป็นประพันธ์สรรพนามแทนได้ นามตัวนั้นจะต้องมีคุณศัพท์ขั้นสูงสุด (Superative Degree) มาขยายอยู่ข้างหน้า แล้วจึงใช้ that ไปเป็น Relative Pronoun ได้ เช่น : -

Sayan Sanya is the most famous singer that I have known well.

สายัณห์ สัญญา เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่ผมได้รู้จักดี

2) นามตัวนั้นต้องมีเลขนับจำนวนที่ (Ordinal Number) มาขยายอยู่ข้างหน้า แล้วจึงใช้ that เป็นประพันธ์สรรพนามแทน ได้ เช่น : -

China is the first country that I am going to visit.

จีนเป็นประเทศแรกที่ผมจะไปเที่ยว

3) นามตัวนั้นต้องมีคุณศัพท์บอกปริมาณ (Quantitative Adjective) ได้แก่ much , many , little , etc. มาขยายอยู่ข้างหน้า แล้วจึงจะใช้ that ไปเป็นประพันธ์สรรพนามได้ เช่น : -

Somesak has many pens that he gives me.

สมศักดิ์มีปากกามากที่เขาจะให้ผม

4) ใช้ that เป็น Relative Pronoun แทนสรรพนามผสมต่อไปนี้ได้ ในกรณีที่มีสรรพนามผสมคำใดคำหนึ่งวางอยู่ข้างหน้า ได้แก่ : - someone , somebody , something , somewhere , anyone , anybody , anything , anywhere , everyone , everything , no one , nothing , etc. เช่น

There is nothing that I can do for you.

ไม่มีอะไรที่ผมจะช่วยคุณได้

(ใช้ that แทนได้ เพราะหน้า that เป็นคำสรรพนามผสม)



7) Reflexive Pronoun แปลว่า “ สรรพนามสะท้อน “ หรือบางครั้งจะเรียกว่า Emphatic Pronoun (สรรพนามเน้น) ก็ได้ สรรพนามสะท้อน (หรือเน้น) ถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วหาใช่คำมาจากที่ไหนแท้ที่จริงก็ได้แก่ บุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun) รูปที่ 5 นั่นเอง ได้แก่ : -

myself , ourselves , yourself , yourselves , himself , herself , itself , และ themselves คำเหล่านี้เรียกว่า “ สรรพนามสะท้อน หรือสรรพนามเน้น “ เวลาพูดหรือเขียนมีวิธีใช้อยู่ 4 อย่างคือ : -



1) ให้เรียงไว้หลังประธานหรือชิดตัวประธาน เมื่อผู้พูดต้องการจะเน้นให้เห็นว่าประธานเป็นผู้กระทำกิจนั้น ๆ ด้วยตัวเขาเอง ไม่ใช่คนอื่นมาทำให้ เช่น : -

I myself will do it. He himself did it yesterday.

ฉันเองจะททำมัน เขาเองได้ทำเมื่อวานนี้

2) ให้เรียงไว้หลังกริยาได้ เมื่อผลการหระทำของกริยาตัวนั้นตกให้แก่ผู้กระทำเอง (ขอให้สังเกตุไว้ด้วยว่า ผู้กระทำกับผู้รับผลการกระทำ ต้องเป็นบุคคลเดียวกันตามกฎข้อที่ 2 นี้) เช่น : -

The man in this room shot himself last night.

ผู้ชายที่อยู่ในห้องนี้ยิงตัวตายเมื่อคืนที่ผ่านมา

3) เมื่อต้องการเน้นกรรมใด ให้เรียงไว้หลังกรรมนั้นทุกครั้งไป เช่น : -

I spole to the Prime Minister himself.

ผมได้พูดกับตัวท่านนายกรัฐมนตรีเอง

4) ให้เรียงไว้หลังบุรพบท “ by “ ได้ เมื่อต้องการจะชี้ให้เห็นว่าประธานเป็นผู้กระทำกิจนั้นโดยลำพังคนเดียว ไม่มีใครช่วยทำ เช่น : -

I made this table by myself.

ผมได้ทำโต๊ะตัวนี้ด้วยตัวผมเอง

8.8 Distributive Pronoun แปลว่า “ วิภาคสรรพนาม “ ได้แก่ สรรพนามที่ใช้แทนนามเพื่อการแบ่งแยก , จำแนกออกเป็นครั้งหนึ่ง , สิ่งหนึ่ง , ตัวใดตัวหนึ่ง Distributive Pronoun ที่นิยมใช้กันมากคือ each (แต่ละ) , either (คนใดคนหนึ่ง , สิ่งใดสิ่งหนึ่ง) , neither (ไม่ทั้งสองอย่าง) เช่น : -

There are many tourists coming here every day. Each has a camera.

มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเที่ยวที่นี่ทุก ๆ วัน แต่ละคนมีกล้องถ่ายรูปกันทั้งนั้น

Either of two workers can go outside.

คนงาน 2 คน ออกไปข้างนอกได้คนเดียว



Neither of them were granted to live in China.

พวกเขาไม่มีผู้ใดเลยที่ได้รับอนุญาตให้ไปอยู่ประเทศจีน

อนึ่ง Distributive Pronoun ขอให้สังเกตไว้ด้วยว่า ถ้ามช้แต่มันโดยลำพังก็เป็นสรรพนาม (Pronoun) แต่ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังก็กลายเป็นคุณศัพท์ไป (Adjective) เช่น

เป็น Adjective เพราะมีนามตามหลัง เป็น Pronoun เพราะไม่มีนามตามหลัง



Each boy receives a reward. Each of men has much money.

เด็กแต่ละคนได้รับรางวัล ผู้ชายแต่ละคนมีเงินมาก



Either car is very expensive. Either of girls is beautiful.

รถยนต์แต่ละคันมีราคาแพง เด็กหญิงแต่ละคนสวนทั้งนั้น




  1   2   3   4   5   6


Verilənlər bazası müəlliflik hüququ ilə müdafiə olunur ©atelim.com 2016
rəhbərliyinə müraciət