Ana səhifə

Personal oronoun


Yüklə 311.5 Kb.
səhifə5/6
tarix27.06.2016
ölçüsü311.5 Kb.
1   2   3   4   5   6

Interrogative Adverb


Interrogative Adverb แปลว่า “กริยาวิเศษณ์คำถามหรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปฤจฏากริยาวิเศษณ์ก็ได้” มีไว้สำหรับขยายกริยาเป็นคำถาม และกริยาวิเศษณ์เหล่านี้ไม่ค่อยนิยมใช้คำคำเดียว โดยมากจะใช้เป็นคำผสม (Compound words) แบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้ 6 ชนิด ดังนี้

  1. Adverb of Time กริยาวิเศษณ์ถามเวลา

  2. Adverb of Place กริยาวิเศษณ์ถามสถานที่

  3. Adverb of Frequency กริยาวิเศษณ์ถามความถี่ (จำนวน)

  4. Adverb of Manner กริยาวิเศษณ์ถามกิริยาอาการ

  5. Adverb of Quantity กริยาวิเศษณ์ถามปริมาณ

  6. Adverb of Reason กริยาวิเศษณ์ถามเหตุผล

แต่ละชนิดย่อยมีรายละเอียดการใช้ต่อไปนี้

1. Adverb of Time แปลว่า “กริยาวิเศษณ์ถามเวลา” หมายถึง คำกริยาวิเศษณ์ที่นำมาขยายกริยา เพื่อถามถึงเวลาว่า “นานเท่าไร” หรือ “เมื่อไร” ได้แก่ How long (นานเท่าไร) How soon (นานไหม) when (เมื่อไร) และตำแหน่งวางจะอยู่ต้นประโยคตลอดไป เช่น

How long will the workers remain working here?

พวกคนงานจะยังทำงานอยู่ที่นี่ไปอีกนานเท่าไร



2. Adverb of Place แปลว่า กริยาวิเศษณ์ถามสถานที่ หมายถึง คำกริยาวิเศษณ์ที่นำมาใช้ขยายกริยา เพื่อถามสถานที่ เท่าที่ปรากฏเห็นและใช้กันบ่อยก็ได้แก่ where ที่ไหน, และจะวางไว้ต้นประโยคเสมอ เช่น

Where is the pen ? ปากกาอยู่ที่ไหน

3. Adverb of Frequency แปลว่า กริยาวิเศษณ์ถามถึงความถี่หรือจำนวนครั้ง หมายถึงคำหรือกลุ่มคำที่ไปขยายกริยาถามถึงระยะเวลาหรือจำนวนครั้ง และตำแหน่งวางจะอยู่ต้นประโยคเสมอ ได้แก่ คำต่อไปนี้ คือ How often เช่น

How often did your dog bark last night?

สุนัขของท่านเห่าบ่อยไหม เมื่อคืนนี้



4. Adverb of Manner แปลว่า กริยาวิเศษณ์ถามถึงกริยาอาการ หมายถึงคำที่ไปขยายกริยา เพื่อถามถึงอาการของการกระทำหรือพฤติกรรมนั้น ๆ ว่า เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ได้แก่คำว่า How อย่างไร และตำแหน่งอาจจะอยู่ต้นประโยคเสมอ เช่น

How did Arther take the sword out of the stone?

อาร์เธอร์ถอดเอาดาบนี้ออกจากหินได้อย่างไร



5. Adverb of Quantity Degree แปลว่า กริยาวิเศษณ์ถามถึงปริมาณหรือความมากน้อย หมายถึงคำหรือกลุ่มคำที่ไปขยายกิริยาในประโยค เพื่อถามถึงจำนวนหรือปริมาณของสิ่งนั้น ได้แก่คำว่า How much มากเท่าไร How far ไกลเท่าไร และก็เช่นกันตำแหน่งก็อยู่ต้นประโยคเสมอ เช่น

How much does he work every day ?

ทุกวันนี้เขาทำงานมากขนาดไหน



6. Adverb of Reason แปลว่า กริยาวิเศษณ์ถามถึงเหตุผล หมายถึง คำที่ไปขยายกริยาเพื่อถามถึงเหตุผลของการกระทำอันนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ได้แก่ Why ทำไม และวิธีใช้วางไว้ต้นประโยคอีกด้วย เช่น

Why do you say this? ทำไมคุณพูดเช่นนี้

Conjunctive Adverb

Conjunctive Adverb (หรือจะเรียก Relative Adverb ก็ได้) แปลว่า กริยาวิเศษณ์สันธาน ถ้าดูให้ลึกซึ้งได้แก่ Interrogative Adverb นั่นเอง เพียงแต่ ณ ที่นี้ มิได้ทำหน้าที่เป็นคำถาม หากแต่ใช้ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ขยายกริยาในประโยคของตังเองและในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็น Conjunction (สันธาน) เชื่อมข้อความของประโยคหน้ากับประโยคหลัง ให้กลมกลืนกันอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียก Interrogative Adverb ที่นำมาใช้ตามความหมายนี้ว่าเป็น Conjunctive Adverb หรือ กริยาวิเศษณ์สันธาน เช่น

This is the place where we live.

นี้คือสถานที่ที่เราอาศัยอยู่

ประโยคนี้แยกเป็นประโยคเล็กได้ 2 ประโยค คือ

A. This is the place. B. Where we live.

คำว่า where ในประโยค b นั้นเป็นกริยาวิเศษณ์ขยายกริยา live และในเวลาเดียวกันนี้ก็ทำหน้าที่เป็นสันธาน เชื่อมความกับประโยค a ด้วย ฉะนั้นจึงได้รูปประโยคออกมาเป็น This is the place where we live



Conjunctive Adverb แบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ ได้ 6 ชนิด คือ

1. Conjunctive Adverb of Time สันธานวิเศษณ์ บอกเวลา

2. Conjunctive Adverb of Place สันธานวิเศษณ์ บอกสถานที่

3. Conjunctive Adverb of Frequency สันธานวิเศษณ์ บอกความถี่

4. Conjunctive Adverb of Manner สันธานวิเศษณ์ บอกกริยาอาการ

5. Conjunctive Adverb of Reason สันธานวิเศษณ์ บอกปริมาณ

6. Conjunctive Adverb of Time สันธานวิเศษณ์ บอกเหตุผล

ดังจะได้อธิบายดังต่อไปนี้



1. Conjunctive Adverb of Time แปลว่า สันธานวิเศษณ์ บอกเวลา หมายถึงคำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกเวลา ได้แก่ when เมื่อไร เช่น

Can you tell me when he will arrive here?

คุณบอกผมได้ไหมว่าเมื่อไรเขาจะมาถึงที่นี่

2. Conjunctive Adverb of Place แปลว่า สันธานวิเศษณ์ บอกสถานที่ หมายถึง คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยค และขยายกริยาเพื่อบอกสถานที่ ได้แก่คำว่า where ที่ไหน ที่ ที่ เช่น

This is where is stayed last year.

นี้คือสถานที่ที่ผมมาพักอยู่เมื่อปีกลายนี้

3. Conjunctive Adverb of Frequency แปลว่า สันธานวิเศษณ์ บอกความถี่ หมายถึง คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยค และขยายกริยาเพื่อบอกความถี่หรือจำนวนครั้ง ได้แก่คำว่า How often บ่อยไหม กี่ครั้ง เช่น

I asked him how often he had gone there.

ผมถามเขาว่า เขาไปที่นั้นบ่อยไหม

4. Conjunctive Adverb of Manner แปลว่า สันธานวิเศษณ์ บอกกิริยาอาการ หมายถึงคำที่ไปทำหน้าที่ทั้งเชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกอาการของพฤติกรรม หรือการกระทำอันนั้น ๆ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ได้แก่ How อย่างไร เช่น

My father knows how I shot the tiger

คุณพ่อของผมรู้ดีว่า ผมยิงเสือตัวนี้ได้อย่างไร

5. Conjunctive Adverb of Quantity (or Degree) แปลว่า สันธานวิเศษณ์ บอกปริมาณ หมายถึงคำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยค และขยายกริยาเพื่อบอกปริมาณมากน้อยได้แก่ คำว่า How long นานเท่าไร How far ไกลเท่าไร เช่น

No one knows how long she will live with him.

ไม่มีใครทราบหรอกว่า หล่อนจะอยู่กับเขานานเท่าไร


  1. Conjunctive Adverb of Reason (or Cause) แปลว่า สันธานวิเศษณ์ บอกเหตุผล หมายถึงคำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้า-หลังให้กลมกลืนกัน และขยายกริยาในประโยคเช่น

Panya did not know why she cried.

ปัญญาไม่ทราบเลยว่า ทำไมหล่อนจึงร้องไห้

รูปศัพท์หรือแหล่งกำเนิดของ Adverb

รูปศัพท์หรือแหล่งกำเนิดของ Adverb มีมาได้ดังนี้



  1. มีรูปมาจากนามโดยการเติม ly ข้างหลังคำนั้น เช่น

Noun เป็น Adverb คำแปล

Day daily ประจำวัน



  1. มีรูปมาจากนามโดยการเติม ward หรือ wards ที่ท้ายนามนั้น เช่น

Noun เป็น Adverb คำแปล

Back backwards ข้างหลัง



  1. มีรูปมาโดยกำเนิดของตัวเอง จะต่อเติมหรือตัดตอนแม้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ ได้แก่

here, there, hard, late, always, well, often, too, very, seldom, where, when, hence,

whence, how, why, then, once, twice, sometimes.



  1. มีรูปจากการรวมบุรพบทเข้ากับนาม แล้วนำมาใช้เป็น Adverb ได้แก่

to + day = today วันนี้

to + morrow = tomorrow วันพรุ่งนี้

in + side = inside ข้างใน

out + side = outside ข้างนอก



  1. มีรูปมาจากการเติม A อาคม (Affix) เข้าข้างหน้านามหรือกริยา แล้วนามหรือกิริยาตัวนั้นจะกลายเป็นกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ทันที เช่น

a + way = away ไม่อยู่ จากไป ไกลออกไป

6. มีรูปมาจากคุณศัพท์โดยการเติมปัจจัย (Suffix) ly ลงข้างหลังแล้วคุณศัพท์ตัวนั้นก็กลายเป็น Adverb ทันที แต่การเติมปัจจัย ly มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ถ้า Adjective ตัวนั้นลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วจึงเติม ly เช่น

เป็น Adjective คำแปล เป็น Adverb คำแปล

easy ง่าย easily อย่างง่าย

heavy หนัก heavily อย่างหนัก



2) ถ้า Adjective ลงท้ายด้วย e และหน้า e เป็น I ให้เปลี่ยน e เป็น y เพราะเมื่อเปลี่ยนแล้วเท่ากับ ly เช่น

เป็น Adjective คำแปล เป็น Adverb คำแปล

suitable เหมาะสม suitably อย่างเหมาะสม

simple ง่าย simply อย่างง่ายๆ



3) นอกจากกฎที่กล่าวมา เมื่อต้องการให้ Adjective เป็น Adverb ให้เติม ly ที่ท้าย Adjective ตัวนั้นได้เลย ไม่ต้องลังเลใจ เช่น

เป็น Adjective คำแปล เป็น Adverb คำแปล

bad เลว badly อย่างเลว

brave กล้าหาญ bravely อย่างกล้าหาญ



7. Adverb บางตัวมี 2 รูป แต่ความหมายต่างกันได้แก่ Adverb เช่น

hard ยาก, หนัก hardly แทบจะไม่

late สาย lately เมื่อเร็ว ๆ นี้
ADVERB และ ADJECTIVE มีรูปเหมือนกัน

คำที่มีรูปศัพท์เหมือนกันทั้งที่ใช้เป็น Adverb และ Adjective ในภาษาอังกฤษที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่คำต่อไปนี้ คือ

fast เร็ว first ที่หนึ่ง fair ยุติธรรม

hard หนัก deep ลึก long นาน ยาว

low ต่ำ high สูง right ถูก

loud ดัง wrong ผิด straight ตรง

enough พอ short สั้น late สาย etc.

เมื่อคำเหล่านี้มีรูปเหมือนกันทั้งที่ใช้เป็น Adverb และ Adjective จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นอันไหนนั้นให้ดูที่ตำแหน่งการวางในประโยค คือ

. ถ้าวางไว้หน้านามหรือหลัง Verb to be เป็น Adjective


  1. ถ้าวางไว้หลังกริยา (ทั่วไป) เป็น Adverb เช่น

เป็น Adjective เป็น Adverb

This is a fast train. This train runs fast.

นี่คือ ขบวนรถเร็ว รถไฟขบวนนี้วิ่งเร็ว



1   2   3   4   5   6


Verilənlər bazası müəlliflik hüququ ilə müdafiə olunur ©atelim.com 2016
rəhbərliyinə müraciət