Ana səhifə

การอนุรักษ์และศึกษาอนุกรมวิธานของปลากระบอกในพื้นที่ อ่าวนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช Conservation and Taxonomic Study on Mullet at Nakhon Si Thammarat Bay, Nakhon Si Thammarat Province


Yüklə 3.62 Mb.
tarix25.06.2016
ölçüsü3.62 Mb.
การอนุรักษ์และศึกษาอนุกรมวิธานของปลากระบอกในพื้นที่ อ่าวนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช

Conservation and Taxonomic Study on Mullet at Nakhon Si Thammarat Bay, Nakhon Si Thammarat Province.
บทคัดย่อ

การอนุรักษ์และการศึกษาอนุกรมวิธานของปลากระบอกในพื้นที่อ่าวนครศรีธรรมราช ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 เพื่อศึกษาลักษณะทางอนุกรมวิธาน จากการศึกษาครั้งนี้พบปลากระบอกอยู่ในบริเวณดังกล่าว 3 ชนิด ด้วยกัน คือ ปลากระบอกเกล็ดหยาบ (Liza subviridis) ปลากระบอกขาว (ซา) Valamugill cunesius และปลากระบอกท่อนใต้ (Liza vaigiensis) ในจำนวนนี้มี 2 ชนิด ได้แก่ Liza subviridis และ Valamugill cunesius เป็นปลาเศรษฐกิจและพบชุกชุมตามลำดับ ส่วน Liza vaigiensis เป็นปลากระบอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และพบมากเป็นครั้งคราว จากตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้พบว่า ปลากระบอกทั้ง 3 ชนิด พบได้ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน วิธีการจำแนกเพื่อทราบชื่อสกุลและชนิดปลากระบอกเหล่านี้ได้ทำโดยเสนอเป็นคีย์พร้อมด้วยรูปภาพงานด้านอนุกรมวิธานของปลากระบอกแต่ละชนิดยังประกอบด้วย รายชื่อพ้อง ลักษณะสำคัญ ลักษณะทั่วไป ข้อมูลด้านถิ่นอาศัย การประมง ชื่อเรียกสามัญหรือชื่อท้องถิ่น และรูปแสดงลักษณะต่างๆ พร้อมทั้งตารางและกราฟ เพื่อช่วยในการเปรียบเทียบลักษณะ การปฏิบัติการรณรงค์อนุรักษ์ประชากรปลากระบอกมีการจัดกิจกรรมรณรงค์และส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมองเห็นความสำคัญของทรัพยากรปลากระบอก เช่น การศึกษาอนุกรมวิธานของปลากระบอก และพฤติกรรมการกินอาหารของปลากระบอก สำหรับการกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์ปลากระบอกในพื้นที่ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมกันปลูกป่าชายเลน เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลบภัยของปลากระบอก และสัตว์น้ำชนิด



คำสำคัญ: การอนุรักษ์, ปลากระบอก, อนุกรมวิธาน, อ่าวนครศรีธรรมราช


ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 80280



ABSTRACT
Preliminary studies on taxonomic of the mullet at Nakhon Si thammarat Bay, were conducted from June 2008 to May 2009. Three species of which, Liza subviridis, Valamugil cunesius and Liza vaigiensis, specyively, are the most common. Marketing species throughout the year; while Liza vaigiensis, the largest species is freguently seen at times. According to the studied materials, Liza subviridis, Valamugil cunesius and Liza vaigiensis were locally know the Gulf of Thailand and the Andaman Sea, An illustrated key to genera and species includes drawings, list of synonymys, diagnosis, description, information on habitat, fisheries and common or local names. Freguency tables and graphs for species comparisions are also given.

In studied about the Conservation of Mullet for students and the participated observation were used. The student’s particiption in bioresources of Mullet, Taxonomic and food behaviors. In the Conservation of Mullets their population by the mangroves forest.


Keyword: Conservation, Mullet, Taxonomic, Nakhon Si Thammarat Bay


Science and Technology, Nakhon Si Thammarat Ratjabhat University, 80280

* Corresponding author: asuparporn@yahoo.com


บทนำ
อ่าวนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำเพราะเป็นอาณาบริเวณที่มีระบบนิเวศเหมาะสม คือ เป็นอ่าวกว้างใหญ่เป็นพื้นโคลนที่น้ำไม่ลึกมีป่าชายเลนโดยรอบ จึงเป็นแหล่งที่มีสัตว์น้ำชุกชุมทั้งกุ้งหอย ปู ปลา ต้นน้ำของอ่าวนครเกิดจากแม่น้ำปากพนัง ซึ่งแผ่ปกคลุมลุ่มน้ำปากพนัง แล้วไหลลงทะเลที่อ่าวนคร และยังมีลำคลองต่างๆ ที่ไหลลงในอ่าวนี้ เช่น คลองบางจาก คลองบางควาย คลองปากนคร คลองปากพญา (ปากพูน) ในเขตอำเภอเมือง คลองเหล่านี้จะมีคลองซอยเล็กๆ เชื่อมโยงถึงกันในผืนป่าชายเลน ทำให้เป็นที่อาศัยหลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนได้เป็นอย่างดี

ปลากระบอกเป็นปลาที่มีวามสำคัญทางเศรษฐกิจที่คนไทยรู้จักกันดี มีชื่อสามัญว่า Grey mullet (ชวลิต, 2528) จัดอยู่ในวงศ์ Mugilidae จากรายงานการศึกษาปลากระบอกในทะเลสาบสงขลา พบชนิดที่มีปริมาณมากและที่มีความต้องการของตลาดมี 3 ชนิด คือ ปลากระบอกดำ (Liza subviridis) ปลากระบอกหัวสิ่ว (Lisa parsia) และปลากระบอกขาว (Valamugil cunnesius) นับเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีราคาแพง

ปลากระบอกเป็นปลาที่มีโครงร่างสีที่คล้ายกันมากทั้งในแต่ละสกุลและชนิด และบางลักษณะก็ยังนำมาอธิบายได้ยาก ซึ่งการศึกษาทางอนุกรมวิธานของปลากระบอกที่ผ่านมา เป็นการศึกษาปลากระบอกที่พบในน่านน้ำไทยบริเวณจังหวัดชายฝั่งตะวันออกตอนบนของอ่าวไทย (ชวลิต, 2528)

ด้วยเหตุนี้จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะมีการสำรวจพรรณปลากระบอกบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง เพื่อจะได้ทราบถึงชนิด ปริมาณปลา และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (งานนี้ได้คำตอบถึงปริมาณ การเปลี่ยนแปลง และมูลค่าเศรษฐกิจหรือไม่? ลองอ่านดูให้จบ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ปลากระบอกอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการเลี้ยงปลากระบอกบางชนิดที่กำลังลดน้อยลง หรือใกล้สูญพันธุ์ต่อไป


วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการอนุรักษ์และอนุกรมวิธานของปลากระบอกที่พบบริเวณอ่าว
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ในการศึกษาอนุกรมวิธานของ โดยนำตัวอย่างปลากระบอกที่มีลักษณะภายนอกสมบูรณ์ทั้งเพศผู้และเพศเมียไปศึกษาลักษณะทางอนุกรมวิธาน และจัดจำแนกลักษณะทางอนุกรมวิธานปลา (คณะประมง (2528); Smith (1945); Jalwer et al (1916); Webber และ de Beaufort (1922); Nelson (1994)

ในการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ปลากระบอก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ และมีการจัดนิทรรศการ รวมทั้งการศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยและลักษณะทางชีววิทยาของปลากระบอก ตลอดจนการรณรงค์การปลูกป่าชายเลนที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลากระบอกและสัตว์น้ำอื่นๆ



ผลการศึกษา
การอนุรักษ์และศึกษาอนุกรมวิธานของปลากระบอก ในพื้นที่ป่าชายเลนอ่าวนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูปลากระบอก โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และส่งผลต่อแนวคิดของนักศึกษาในการศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของปลากระบอก และการกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์ ส่วนการศึกษาอนุกรมวิธานของปลากระบอกโดยการเก็บรวบรวมและตรวจศึกษาตัวอย่างปลากระบอกในบริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ได้ตัวอย่างปลากระบอกรวม 896 ตัว สามารถจำแนกตามหลักอนุกรมวิธานได้ปลากระบอก 3 ชนิด ประกอบด้วย ปลากระบอก (ละเมาะ) 714 ตัว ปลากระบอกขาว (ปลาซา) 180 ตัว และปลากระบอกท่อนใต้ 2 ตัว มีรายละเอียดของลักษณะทางอนุกรมวิธานดังนี้

  1. ปลากระบอกเกล็ดหยาบ

(Liza subviridis)

2. ปลากระบอกขาว (Valamugill cunesius)

3. ปลากระบอกท่อนใต้ (Liza vaigiensis)

ปลากระบอกจัดลำดับขั้นตามหลักของ Greenwoods et al. (1966), Gosline (1968) ได้ดังนี้

Class Osteichthyes

Subclass Neopterigii

Order Perciformes

Suborder Mugiloidei

Family Mugilidae

Subfamily Mugilinae

Genus Liza

Valamugill

Species Liza subviridis



Liza vaigiensis

Valamugill cunesius

1. Liza subviridis (Valenciennes, 1836) ปลากระบอกเกล็ดหยาบ Large scale mullet
ชื่อพ้อง

Mugil subviridis (Gunther,1861).

Mugil subviridis (Weber and de Beaufort, 1922).



Mugil subviridis (Roxas, 1934).

Mugil subviridis (Days, 1958).

ตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 714 ตัว ขนาด เฉลี่ย 147.0 mmSL.



ลักษณะสำคัญ

เยื่อปิดตาเจริญดีมาก ปลายขากรรไกรบนเมื่อหุบปากจะเห็นได้ชัดเจน ปลายหัวมน ครีบอกสีจาง ครีบหางเป็นแฉก ลิ้นเป็นสันคม





รูปที่ 1 ลักษณะของปลากระบอกเกล็ดหยาบ
2. Valamugil cunnesius (Valenciennes, 1836) กระบอกขาว (ปลาซา) Longarm mullet
ชื่อพ้อง

Mugil cunnesius Valenciennes, in Cuvier & Valenciennes, 1836

Mugil strongylocephalus Richardson, 1846

Mugil longimanus Gunther, 1861, Cat. Fish. Brit

Mugil kelaartii Gunther, 1861

Mugil engeli Day, 1865

Liza strongylocephalus Thomson, 1954

Osteomugil strongylcephalus Song, 1981

ตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 180 ตัว ขนาดเฉลี่ย 129.0 mm.SL.


ลักษณะสำคัญ
เยื่อไขมันคลุมตามีขนาดใหญ่มุมบนฐานครีบอกมีจุดดำเห็นชัด ลำตัวมีเกล็ดสีเงินวาว



รูปที่ 2 ลักษณะของปลากระบอกขาว
3. Liza vaigiensis (Quoy & Guimard, 1825) กระบอกท่อนใต้, กระบอกหูดำ, หมก, ลำลวด, หัวเสี้ยม Diamond scaled grey mullet, Square-tail mullet
ชื่อพ้อง

Mugil vaigiensis Quoy & Guimard, 1825.

Mugil macrolepidotus: Ruppell, 1828.

Mugil rossii Bleeker, 1854.

Mugil waigiensis Qunther, 1861.

Liza vaigiensis Jordan & Seale, 1906.

Liza waigiensis Seale, 1906.



Mugil ogilbyi Fowler, 1918.

Ellochelon vaigiensis Whitley., 1930.

Chelon vaigiensis Taylor, 1964

ตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจำนวน 2 ตัว ขนาด เฉลี่ย 275.0 mmSL.


ลักษณะสำคัญ
รูปร่างลำตัวเรียวยาว เป็นทรงกระบอก ค่อนข้างกลม หัวกว้างใหญ่และแบน เกล็ดบนหัวปกคลุมอยู่หลังแนวระหว่างรูจมูกช่องหลัง ครีบอกสีดำ ครีบหางเว้าตื้น




รูปที่ 3 ลักษณะของปลากระบอกท่อนใต้

บทสรุป
ผลการจัดกิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์ปลากระบอก (ผลการศึกษามีแต่อนุกรมวิธาน ไม่เห็นมีกิจกรรมรณรงค์เลย แต่มีสรุป) โดยการจัดนิทรรศการ สำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ เกิดการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจ โดยมีกิจกรรมต่างๆ คือ กิจกรรมอนุรักษ์ถิ่นที่อาศัยปลากระบอกโดยการปลูกป่าชายเลน การจัดนิทรรศการและสาธิตชีววิทยาของปลากระบอก และนิทรรศการทรัพยากรพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ตลอดจนการแปรรูปปลากระบอก มีการกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์ปลากระบอก โดยนักศึกษาร่วมจัดกิจกรรมศึกษาชนิดพืชป่าชายเลนและร่วมกันปลูกต้นโกงกาง จัดนิทรรศการระบบนิเวศป่าชายเลนที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลากระบอก ในงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์จากการศึกษาอนุกรมวิธาน (ส่วนนี้คือกิจกรรมที่เป็นส่วนวิจัย แต่เอามาอยู่ในสรุป)มีข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ปลากระบอกเกล็ดหยาบ(L.subviridis) เป็นชื่อพื้นเมืองที่ชาวบ้านเรียกกันในท้องถิ่นเท่านั้น จากรายงานของกรมประมงหลายเล่มเรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลากระบอก การแพร่กระจายที่พบในประเทศไทยพบทั้งชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและ อันดามัน โดยปลากระบอกท่อนใต้มีขนาดใหญ่ที่สุด และพบน้อยมาก มีลักษณะทางอนุกรมวิธานใกล้เคียงกับการศึกษาทางอนุกรมวิธานหลายท่าน อาทิเช่น Weber and de ปลากระบอกมีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่ใช้จำแนกชนิด (ดังตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 ลักษณะทางอนุกรมวิธานของปลากระบอกทั้ง 3 ชนิด ตารางนี้ต้องเป็นผล ไม่ใช่สรุป

ลักษณะที่ศึกษา

L. subviridis

L. vaigiensis

V. cunesius

1. ครีบหลัง Dorsal fin (D)

IV, 9

V, 9

IV, 8

2. ครีบก้น Anal fin (A)

II, 9

II, 9

II, 8

3. ครีบอก Pectoral (P)

24-28

31

25

4. ครีบท้อง Ventral fin (V)

II, 10

II,11

II, 10

5. ครีบหาง Caudal fin (C)

17

16

14

6. เกล็ดบนเส้นข้างลำตัว
Lateral scale

26

30

32-37

7. Depth in

standard length



3.4:14.7

7:27.5

1.6:12.9

8. Depth in tatal length

3.4:18.2

7:31.5

1.6, 16

9. เส้นผ่าศูนย์กลางตาต่อ ความยาวหัว

0.8:3.6

1.2:60

0.6:3

10. ความกว้างลำตัวต่อความยาวมาตรฐาน

1.9:14.7

4.7:27.5

3:12.9

11. ความกว้างลำตัวต่อความยาวเหยียด

1.9:18.2

4.7:31.5

3:16

12. เยื่อปิดตา

มี

มี

มี

13. สี และลักษณะเด่น

ครีบอกสีจาง ครีบหางเป็นแฉก ลิ้นเป็นสันคม

ตัวและเกล็ดมีขนาดใหญ่ มีแถบบนเส้นข้างลำตัวเด่นชัด ครีบหางเว้าตื้น

บริเวณครีบอกมีจุดสีดำชัด ลำตัวมีเกล็ดสีเงินวาว
หมายเหตุ : ตัวเลขโรมัน คือ จำนวนก้านครีบแข็ง ตัวเลขอารบิค คือ จำนวนก้านครีบอ่อน

งานเขียนนี้ยังไม่ต่างจากเดิม ไม่สามารถตีพิมพ์ในวารสาร สกว. ได้ ยังขาดข้อมูล “พื้นที่” ตามที่เคยให้ comment ไว้รอบแก ผมขอยุติการให้คำแนะนำไว้เท่านี้ เพราะดูเหมือนข้อมูลงานที่มีอยู่ จะไปไม่ถึงเป้าหมาย
บรรณานุกรม
คณะประมง. 2528. คู่มือวิเคราะห์พรรณปลา. คณะประมง,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 237 หน้า.

ชวลิต วิทยานนท์. 2528. อนุกรมวิธานของปลากระบอกในน่านน้ำไทย วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 187 หน้า

วรรณชัย พรหมเกิด. 2552. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อเพิ่มประชากรปูแสมในพื้นที่ป่าชายเลน อ่าวนครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 146 หน้า

Smith, H.M. 1945. The Fresh water Fishes of Siam, or Thailand. Smithsonaian Institute United States National Museum. 622 p.



Beaufort (1922), Days (1958),




Verilənlər bazası müəlliflik hüququ ilə müdafiə olunur ©atelim.com 2016
rəhbərliyinə müraciət