Ana səhifə

S. T. Blake) มาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ดี ยังพบพรรณไม้บางชนิดของสังคมพืชแบบ Coastal heath forest ขึ้นปะปนอยู่ด้วย ได้แก่ เม่า (Syzygium grande (Wight.) Walp.) เสม็ดชุน


Yüklə 349.5 Kb.
tarix26.06.2016
ölçüsü349.5 Kb.


2 -

ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมด้านนิเวศ




  1. สังคมป่าโปร่ง (Dipterocarpus chataceus Syming. Forest) (รูปที่ 2.20) เป็นสังคมพืชที่พบบนแนวสูงสุดของสันทรายถัดจาก Coastal heath forest มีพรรณไม้คล้ายคลึงกับที่พบในบริเวณ Coastal heath forest แต่เรือนยอดของพืชแต่ละต้นอยู่ห่างกัน มีช่องว่างระหว่างต้นไม้แต่ละต้นมาก พวก Epiphyte มีน้อยกว่า พวกพืชคลุมดินส่วนมากเป็นหญ้า พันธุ์ไม้ยืนต้นเด่นที่พบในบริเวณนี้คือต้นยางวาด (Dipterocarpus chartaceus Syming.) สังคมพืชในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ถูกทำลายลงแล้ว บางบริเวณเปลี่ยนเป็นพื้นที่กสิกรรม บางบริเวณมีต้นเสม็ดขาว (Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T. Blake) มาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ดี ยังพบพรรณไม้บางชนิดของสังคมพืชแบบ Coastal heath forest ขึ้นปะปนอยู่ด้วย ได้แก่ เม่า (Syzygium grande (Wight.) Walp.) เสม็ดชุน (Syzygium gratum var. gratum (Wight.) S.N.Mitra) ในที่แห้งมากยังพบต้นเหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijm.) เมื่อพิจารณาจากชนิดของพรรณไม้ที่ขึ้นในสังคมพืชนี้ ชนิดของพรรณไม้ที่มีทั้งกลุ่มต้นยางวาดซึ่งเป็นพรรณไม้ที่พบในป่าดิบแล้ง [Smitinand, 1975] กับพวกพรรณไม้ที่เป็นของป่าแบบ Coastal heath forest จึงพอจะกล่าวได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ป่าแบบนี้เป็นรอยต่อ (Ecotone) ของสังคมพืชสองชนิด คือสังคมพืชแบบ Coastal heath forest ที่พบบนสันทรายชายทะเล และสังคมพืชที่พบถัดเข้ามาในแผ่นดินซี่งอาจเป็นป่าดิบแล้ง แต่โดยที่สังคมพืชในบริเวณนี้ ส่วนใหญ่ถูกทำลายลงแล้ว บางบริเวณเปลี่ยนเป็นที่ทำกสิกรรม บางบริเวณมีต้นเสม็ดขาว (M. quinquenervia (Cav.) S.T. Blake) มาขึ้นแทนที่ จึงเป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไป นอกจากจะมีการศึกษาทาง Vegetation history โดยอาศัยกรรมวิธีทาง Pollen analysis เท่านั้น5

  2. สังคมป่าพรุเสื่อมโทรม (Peat Swamp Forest) (รูปที่ 2.21) พบเป็นแห่งๆ ขนาดเล็ก อาจประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ไม่กี่ต้น พบขึ้นอยู่ในที่ลุ่มหลังสันทรายในบริเวณที่การระบายน้ำเป็นไปไม่ดีนัก ป่าพรุบริเวณนี้เป็นป่าพรุเสื่อมสภาพ มักมีต้นเสม็ดขาว (M. quinquenervia (Cav.) S.T. Blake) มาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม บางแห่งยังมีต้นไม้ของป่าพรุหลงเหลืออยู่บ้าง ต้นไม้ที่น่าสนใจที่พบในป่าพรุบริเวณนี้ได้แก่ เทียะ (Alstonia spathulata Bl.) ตีนเป็ดขาว (Alstonia angustiloba Miq.) ขี้หนอนพรุ (Campnosperma coriaceum (Jack) Hall.f. ex Steen) มะม่วงคัน (Mangifera pentandra Hook.f.) เป็นต้น

  3. สังคมป่าเสม็ด (Melaleuca Swamp Forest) (รูปที่ 2.22) เป็นสังคมพืชที่พบในที่ลุ่มหรือบึง หลังแนวสันทรายที่น้ำไม่ลึกมาก ประกอบด้วยต้นเสม็ดขาว (M. quinquenervia (Cav.) S.T. Blake) เป็นส่วนมาก กระจายอยู่ทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะในเขตที่ถูกแผ้วถางบุกรุกแล้ว ในบริเวณที่มีสังคมพืชดังกล่าวนี้ น่าจะเคยมีป่าพรุมาก่อน แต่ถูกทำลายลง อย่างไรก็ดี จะพิสูจน์ทราบได้ชัดก็ต่อเมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น Pollen analysis เท่านั้น

รูปที่ 2.20
รูปที่ 2.21

รูปที่ 2.23

รูปที่ 2.22


  1. สังคมหญ้าที่ลุ่ม (Eleocharis Communities) (รูปที่ 2.23) เป็นสังคมพืชน้ำที่พบในที่ลุ่มหรือบึง หลังแนวสันทรายเช่นกัน เป็นบริเวณที่น้ำค่อนข้างลึก และมีการไหลเวียนพอสมควร พืชน้ำที่พบมากคือ พวกจูดชนิดต่างๆ เช่น จูดสามเหลี่ยม (Eleocharis spiralis (Rottb.) Roem.), แห้วทรงกระเทียม (Eleocharis dulcis (Burm.f.) Trin. Ex Hensch.), กระจูด (Lepironia articulata (Retz.) Domin.) และพืชน้ำอื่นๆ เช่น บัวเผื่อนบัวผัน (Nymphaea nouchali Burm.f.) บา (Nymphoides indicum (Linn.) Ktze.) เป็นต้น

  2. ป่าชายหาดทุติยภูมิ (Secondary Forest) (รูปที่ 2.24) เป็นสังคมพืชที่พบอยู่ทั่วไปในบริเวณที่สังคมพืชขั้นปฐมภูมิ (Primary forest) ที่เคยเป็น Climax communities อยู่ก่อนถูกทำลายลง มักพบต้นเสม็ดขาว (Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T. Blake) ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ แต่ในบางบริเวณที่แห้งแล้งมากๆ เช่นบนแนวสูงของสันทราย จะพบต้นหนามเค็ด (Catunaregum tomentosa (Bl. ex DC.) Tirveng. ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ อาจพบต้นไม้ดั้งเดิมที่เคยขึ้นอยู่ก่อนหน้าบ้าง แต่น้อยมาก

  3. ป่าชายเลน (Mangrove) (รูปที่ 2.25) เป็นป่าชายเลนที่พบในเขตที่ศึกษา ซึ่งล้วนเป็นป่าชายเลนที่ถูกรบกวนแล้วทั้งสิ้น ส่วนมากพบเหลือเป็นกลุ่มของต้นไม้ป่าชายเลนกลุ่มไม่ใหญ่มากตามริมคลองใกล้ปากคลองสายสำคัญในพื้นที่ศึกษา คือคลองนาทับ และคลองสะกอม รวมทั้งสาขาเล็กๆ ของคลองดังกล่าวที่น้ำทะเลเข้ามาถึงเมื่อเกิดน้ำขึ้น น้ำลง ต้นไม้ที่พบเช่น โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata Bl.), ตะบูน (Xylocarpus granatum Koen.), ลำพู (Sonneratia caseolaris Engler), จาก (Nypa fructicans Wurmb.), ปรงทะเล (Acrostichum aureum Linn.) โดยเฉพาะต้นจากนั้น ขึ้นเป็นพื้นที่กว้างต่อเนื่องกันในบางบริเวณ

  4. ป่าชายน้ำ (Riverine vegetation) (รูปที่ 2.25) คือสังคมพืชที่พบบริเวณริมตลิ่งชายน้ำ ตามริมคลอง หนอง บึง เป็นบริเวณที่น้ำจะเอ่อล้นตลิ่งมาท่วมได้ 1-2 ครั้งต่อปี แต่ส่วนมากสังคมพืชแบบดังกล่าวที่พบในบริเวณที่ศึกษาเป็นสังคมพืชที่ถูกรบกวนแล้วทั้งสิ้น (Secondary vegetation) พืชที่พบได้แก่ จิกน้ำ (Barringtonia acutangula Subsp. spicata Payens) อินทนิลน้ำ (Lagerstoemia speciosa Pers.) และต้นจาก อาจจะพบในป่าชนิดนี้ด้วย

รูป 2.24

รูปที่ 2.25



  1. พรรณไม้ ภาคผนวก E1 แสดงวงศ์ ชนิด ความหนาแน่น ของพรรณไม้ที่พบในบริเวณพื้นที่ศึกษา ขณะทำการสำรวจจนถึงเดือนกันยายน 2542

อย่างไรก็ตาม พรรณไม้ทั้งหมดที่พบนั้น ไม่มีพรรณไม้ใดเป็นพรรณไม้หายาก (Rare species) พรรณไม้ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species) และพรรณไม้พบเฉพาะถิ่น (Endemic species) นอกจาก เฟิร์นตานส้าน (Schizaea dichotoma Sw.) ซึ่งปัจจุบันแม้ยังไม่จัดว่าเป็นพรรณไม้หายาก แต่พบอยู่ตามธรรมชาติไม่กี่แห่ง เพราะถิ่นอาศัยถูกทำลาย

สภาพของสังคมพืชจะกระจายอยู่โดยรอบพื้นที่โรงแยกก๊าซ ไม่มีสภาพเป็นป่าผืนใหญ่ติดต่อกันเป็นบริเวณกว้าง สำหรับสังคมพืชที่พบในพื้นที่ 400 ไร่บริเวณที่จะก่อสร้างโรงแยกก๊าซ คือ สังคมพืชเสม็ดขาว และสังคมยางวาด สภาพเป็นป่าโปร่ง




  1. ชนิดและปริมาตรไม้ในพื้นที่โครงการ เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประเภทและชนิดของไม้ ความหนาแน่น ปริมาตรไม้ (เฉพาะไม้ใหญ่) ในพื้นที่โครงการโดยละเอียด ผู้ศึกษาได้ขอความอนุเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม จำนวน 12 คน6 เข้าสำรวจและนับต้นไม้ ในพื้นที่ 800 เมตร x 800 เมตร (400 ไร่) ที่คาดว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งโรงแยกก๊าซ ในวันที่ 7-27 เมษายน 2544 โดยจำแนกพื้นที่ตามสังคมพืชโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ (รูปที่ 2.26) สร้างเป็นแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน และเข้าสำรวจซ้ำในพื้นที่จริงเพื่อตรวจความถูกต้องของสภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบัน และแสดงในรูปที่ 2.27 ซึ่งพบว่าสามารถแบ่งสภาพพื้นที่ออกได้เป็น 5 ประเภท มีรายละเอียดสภาพพื้นที่ ดังนี้

ป่าเสม็ด (พืชเด่นเสม็ดขาว) ประมาณ 25.3 ไร่

สังคมป่าโปร่ง (พืชเด่นยางวาด พยอม) ประมาณ 81.2 ไร่

พื้นที่โล่ง กล้าไม้เสม็ดขาว ประมาณ 92.6 ไร่

นาข้าวร้าง ประมาณ 51.0 ไร่

พื้นที่ลุ่มน้ำขัง ประมาณ 49.9 ไร่


คณะสำรวจได้ทำการสำรวจต้นไม้ โดยนับจำนวนตามชนิดของไม้ ในพื้นที่โรงแยกก๊าซ 400 ไร่และเพื่อป้องกันการนับซ้ำซ้อน จึงวางแปลงขนาด 20 x 20 เมตร (เฉพาะพื้นที่ที่มีต้นไม้) ทยอยนับทีละแปลงจนหมดพื้นที่โรงแยกก๊าซ 400 ไร่ บันทึก จำนวน ชนิด ประเภทของไม้ เพื่อคำนวณหาปริมาตรไม้ที่จะต้องตัดฟันออกจากพื้นที่ก่อสร้าง

นอกจากนี้ คณะสำรวจยังได้ศึกษาความหนาแน่นของไม้ จากแปลงสุ่มตัวอย่างในพื้นที่สังคมพืชตามชนิดไม้เด่น เพื่อเก็บข้อมูลต้นไม้ทุกต้นในแปลง 20 x 20 เมตร ในสังคมพืชเด่นเสม็ดขาว ยางวาด และพะยอม การสำรวจนับไม้ได้แบ่งประเภทของไม้ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

กล้าไม้ (Seedling) ได้แก่ ไม้ที่มีความสูงน้อยกว่า 1.30 เมตร

ลูกไม้ (Sapling) ได้แก่ ไม้ที่มีความสูงมากกว่า 1.30 เมตร แต่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (dbh) น้อยกว่า 10 เซนติเมตร

ต้นไม้ (Tree) ได้แก่ ไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกมากกว่า 10 เซนติเมตร และแบ่งเป็นไม้ใหญ่ (ขนาด dbh >60 เซนติเมตร) ไม้กลาง (dbh 31-60 เซนติเมตร) ไม้เล็ก (dbh 10-30 เซนติเมตร)
ผลจากการเดินนับต้นไม้ในพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งโรงแยกก๊าซ พบต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป เป็นจำนวน 2,987 ต้น โดยมีไม้เสม็ดขาว (Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T. Blake) เป็นพืชเด่นพบปริมาณมากที่สุด จำนวน 1,489 ต้น รองลงมาได้แก่ ยางวาด (Dipterocarpus chartaceus Syming) จำนวน 312 ต้น พะยอม (Shorea roxburghii G.Don) 178 ต้น และเมา (Syzygium grande (Wight.) Walp.) 131 ต้น รายละเอียด ชนิด ปริมาณ และขนาดของไม้ยืนต้นที่จะถูกตัดฟันจากการก่อสร้างโรงแยกก๊าซ แสดงไว้ในตารางที่ 2.7


ตารางที่ 2.7 ชนิด และจำนวนต้นไม้ยืนต้น ในพื้นที่โรงแยกก๊าซ 400 ไร่




ชื่อพื้นเมือง


ชื่อวิทยาศาสตร์

จำนวนไม้ยืนต้นตำแหน่งก่อสร้างโรงแยกก๊าซ


รวม

นาข้าวร้าง

พื้นที่ลุ่ม

ป่าโปร่งยางวาด

ป่าเสม็ด




ไม้กลาง

ไม้เล็ก

ไม้กลาง

ไม้เล็ก

ไม้กลาง

ไม้เล็ก

ไม้กลาง
ไม้เล็ก




กระท้อน

Sandoricum koetjape Merr.

-

-

1

1

-

25

-

-

27

กันเกรา, ตำเสา

Fagraea fragrans Roxb

-

3

-

5

3

29

-

-

40

เก็ดซ้าน

Olea maritima wall

-

17

-

7

2

111

-

4

141

ขนุน

Artocarpus heterophyllus Lamk.

-

-

-

2

-

2

-

-

4

ขี้กวาง

Eugenia fruticosa Roxb

-

-

-

-

2

-

-

1

3

ขี้เหล็ก

Cassia siamea Britt.

-

-

-

-

-

5

-

-

5

ขี้หนอน

Chaetocarous castanocarpus Thw.

-

4

-

-

-

44

-

-

48

คอแห้ง

Grewia sp.

-

15

-

-

2

35

-

-

52

จำปาดะ

Artocarpus integer Merr.

-

-

-

-

-

2

-

-

2

จิกนม

Barringtonia macrostachys Kurz

-

-

-

-

-

7

-

-

7

ตังหนู

Calophyllum pulcherima Wall.

-

-

-

-

-

3

-

-

3

ตะเคียน

Hopea sp.

-

-

-

-

-

1

-

-

1

เน็น

Vitex sp.

-

2

-

-

-

2

-

-

4

นนทรี

Vitex pinnata L.

-

40

-

6

-

4

-

-

50

เนียน

Diospyros sp.

-

-

-

2

3

4

-

-

9

ไผ่ป่า

Bambusa sp.

-

-

--

-

-

6

-

-

6

ฝรั่ง

Psidium guajava L.

-

-

-

-

-

1

-

-

1

ฝาด (สุมต้น)

Pittosporum ferrugineum Ait.

-

-

-

1

-

14

-

-

15

พะยอม

Shorea roxburghii G.Don

-

-

1

16

5

141

-

15

178

พันตัน

Schima wallichii Korth

-

-

-

-

5

25

-

3

33

โพ

Ficus sp.

-

-

-

-

-

1

-

-

1

ชะมวง

Garcinia cowa Roxb.

-

-

-

-

2

40

-

-

42

มะกรวดผี

Atalantia monophylla Correa

-

-

-

4

-

3

-

-

7

มะม่วง

Mangifera indica L.

-

-

-

5

-

6

-

-

11

มะพร้าว

Cocos nucifera L.

-

2

-

52

-

1

-

-

55

มะม่วงหินพานต์

Anarcardium occidentale L.

-

-

-

3

-

32

-

5

40

มังคุดป่า

(พะวาใบใหญ่)



Garcina vilersiana Pierre

-

-

-

-

-

30

-

2

32

เมา

Syzygium grande (Wight.) Walp.

-

8

3

7

-

110

1

2

131

ยอ

Morinda sp.

-

12

-

3

-

6

-

-

21

ยางวาด

(Dipterocarpus chartaceus Syming.)

-

-

-

8

7

292

-

5

312

ยางพารา

Hevea brasiliensis Muell.

-

4

-

-

-

35

-

-

39

โยง (ยูง, เหียง)

Dipterpcapus obtusifollius Teijsm. ex Miq.

-

-

-

-

-

10

-

-

10

เลียบ

Ficus lacor Buch.

-

-

-

-

1

1

-

-

2

สักป่า (สักน้ำ)

Vatica cinera King

-

-

-

-

-

13

-

-

13

เสม็ดขาว

(Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T. Blake)

19

223

1

38

5

1,034

-

169

1,489

เสม็ดแดง

Syzygium zeylanicum (L.) A.DC.

-

-

-

-

1

28

-

2

31

หนามเค็ด

Catunarecum tomentosa (Bl. ex DC.)Tirveng.

-

12

-

-

-

39

-

1

52

หว้า

Syzygium sp.

2

10

-

-

3

35

-

-

50

หางนกยูง

Delonix regia (Bojer ex Hook.) Rafin.

-

-

-

-

-

2

-

-

2

โหนด

Borassus flabellifer L.

-

9

-

-

-

-

-

-

9

เอียด

Neolitsea zeylanica Merr.

-

-

-

-

-

9

-

-

9

รวม

รวม

21

361

6

160

41

2,188

1

209

2,987

หมายเหตุ: ไม้กลาง คือ ไม้ยืนต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (dbh) 31-60 เซนติเมตร

ไม้เล็ก คือ ไม้ยืนต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (dbh) 10-30 เซนติเมตร

หากมีการก่อสร้างโรงแยกก๊าซ ต้นไม้จะถูกตัดฟันออกจากพื้นที่ 400 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่ตั้งโรงแยกก๊าซ (ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตห้ามล่าฯ แต่เป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ทั้งหมด) คิดเป็นจำนวนต้นไม้ทั้งสิ้น 2,987 ต้น ประกอบด้วยไม้ขนาดเล็ก จำนวน 2,917 ต้น และไม้ขนาดกลาง จำนวน 70 ต้น คิดเป็นปริมาตรไม้ที่จะถูกตัดฟันออกจากพื้นที่ในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซ ดังนี้

 ไม้ขนาดเล็ก (คิดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 20 เซนติเมตร)

คิดเป็นปริมาตรไม้ (0.20/2)2 x 5 x 2,917 = 458 ลูกบาศก์เมตร

ได้แก่ ไม้เสม็ดขาว พะยอม ยางวาด และมังคุดป่า

 ไม้ขนาดกลาง (คิดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 45 เซนติเมตร)

คิดเป็นปริมาตรไม้ (0.45/2)2 x 5 x 70 = 56 ลูกบาศก์เมตร

ได้แก่ ไม้เสม็ดขาว เมา หว้า ส่วนใหญ่จะมีลำต้นแตกทรงพุ่ม


คิดเป็นปริมาตรไม้ทั้งหมดที่ต้องตัดฟันออกจากพื้นที่ก่อสร้างโรงแยกก๊าซ ประมาณ 514 ลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่เป็นไม้ที่มีคุณเชิงพาณิชย์ต่ำ ไม้มีขนาดเล็ก เหมาะแก่การทำเสาเข็มมากกว่านำมาทำไม้แปรรูป ส่วนไม้ขนาดกลางที่พบมักจะแตกทรงพุ่มใช้ประโยชน์เพื่อการเผาถ่านได้อย่างเดียว

ดังได้กล่าวไปแล้วว่าสังคมพืชที่เหลืออยู่ในพื้นที่ก่อสร้างโรงแยกก๊าซนั้น เป็นสังคมพืชแบบทุติยภูมิทั้งสิ้น ซึ่งชุมชนและเจ้าของที่ดินนำไปใช้ประโยชน์อยู่ตลอดเวลา พบไม้ยืนต้นหลงเหลืออยู่บ้างในบางบริเวณ พื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนสภาพป่าเป็นพื้นที่เกษตร เช่น แตงโม มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ ไม่พบป่าที่สมบูรณ์ที่มีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่หรือพรรณไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ ลักษณะของสังคมพืชที่พบในพื้นที่ตั้งโรงแยกก๊าซ พบว่าความหนาแน่นของปริมาณกล้าไม้และลูกไม้ ค่อนข้างต่ำ สาเหตุหลักน่าจะมาจากการเผาหญ้าเพื่อให้เกิดทุ่งหญ้าอ่อนสำหรับเลี้ยงวัว และการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกแตงโม ซึ่งพบเห็นร่องรอยป่าถูกเผาอยู่ทั่วไปในระหว่างการเดินสำรวจ ความหนาแน่นของไม้ในแต่ละสังคมพืช แสดงในตารางที่ 2.8


ตารางที่ 2.8 ความหนาแน่นของไม้ ในแต่ละสังคมพืชที่จะต้องถูกตัดฟันออกจากพื้นที่โครงการ








ความหนาแน่น (ต้นต่อเฮกแตร์)

ประเภทการใช้ที่ดิน

ตำแหน่ง UTM

ไม้ที่มี dbh >10 เซนติเมตร

ลูกไม้

กล้าไม้







>60

31-60

10-30







สังคมพืชทุติยภูมิ พยอม ยางวาด

E 696720

N 769395


0

7

124

550

15,000

สังคมพืชทุติยภูมิ เสม็ดขาว

E 697240

N 769428


0

0

325

1,575

4,300

2.2 สัตว์ป่า





  1. ขอบเขตการศึกษา




  1. ศึกษาชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าต่างๆ รวมทั้งชนิดที่มีมาก (Dominant species) ตลอดจนแหล่งเพาะเลี้ยง โดยเลือกพื้นที่ตัวอย่างสำหรับการศึกษาละเอียด ให้อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากบริเวณโรงแยกก๊าซ และจะจัดการศึกษาเป็น 2 ช่วงในบริเวณเดียวกัน คือฤดูฝนและฤดูร้อน

  2. ประเมินสถานภาพของประชากรสัตว์ป่าในบริเวณโครงการ ทั้งในแง่ปริมาณ (โดยสังเขป) และคุณภาพ โดยบันทึกชนิดพันธุ์ต่างๆ แยกเป็นชนิดที่มีมาก (Common species) ชนิดที่มีน้อยมาก (Rare species) ชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Endangered species) และชนิดพันธุ์ประจำถิ่น (Endemic species)

  3. ตรวจสอบสถานภาพของสัตว์ป่าที่บันทึกได้จากการสำรวจโดยตรงและโดยอ้อม ในบริเวณโครงการ โดยเปรียบเทียบกับรายชื่อของ IUCN7

  4. ประเมินถึงความเหมาะสมและความสำคัญของพื้นที่ต่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า




            1. วิธีการศึกษา




  1. การสำรวจโดยอ้อม ด้วยการสำรวจข้อมูลเดิมที่อาจมีอยู่จากแหล่งต่างๆ เช่น กรมป่าไม้ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เอกสารรายงาน และด้วยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่และชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ถึงแหล่งที่พบโดยประมาณ ก่อนที่จะทำการสำรวจโดยตรงเพื่อตรวจหาตำแหน่งที่แน่นอน

  2. การสำรวจโดยตรง ด้วยการสำรวจภาคสนามถึงชนิดและการกระจายของสัตว์ป่าสำคัญ

  1. สัตว์บก ทำการตรวจหาสัตว์ด้วยการพบเห็นโดยตรง ใช้กับดัก ตรวจร่องรอย หรือโพรงรังในพื้นที่ตัวอย่าง ขนาดไม่เล็กกว่า 100 เมตร x 100 เมตร อย่างน้อย 2 แห่ง ที่เลือกภายในรัศมี 5 กิโลเมตร จากบริเวณโรงแยกก๊าซ ใช้แบบกรอกข้อมูลมาตรฐาน รวบรวมข้อมูลต่อไปนี้คือ ชนิดของสัตว์ อายุและเพศ (ถ้าทราบ) ตำแหน่งที่พบสัตว์ และค่าความสูงจากระดับน้ำทะเล จำนวนสัตว์ ร่องรอยสัตว์ป่าและอายุของรอย ชนิดของแหล่งที่อยู่อาศัย วันเดือนปี เวลา ฤดูกาล บันทึกภาพถ่าย



  1. นก ทำการตรวจชนิดและประมาณการความมากน้อย ของนกแต่ละชนิดที่พบในพื้นที่ตัวอย่างที่เลือกภายในรัศมี 5 กิโลเมตร จากบริเวณโรงแยกก๊าซ ใช้วิธีการสำรวจตามแนวเส้น โดยในการตรวจชนิดและนับจำนวนนก จะกำหนดแนวเส้นสำรวจอย่างน้อย 4 แนวเส้นตามแนวเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก ความยาวแนวเส้นละอย่างน้อย 1 กิโลเมตร ตรวจหานกในระยะข้างละ 100 เมตร จากแนวเส้น รวบรวมข้อมูลต่อไปนี้คือ ชนิดของแหล่งที่อยู่อาศัย วันเดือนปี เวลา ฤดูกาล

  1. ตรวจสอบชนิดสัตว์ป่าสำคัญที่พบ และเปรียบเทียบสถานภาพความสำคัญทางการอนุรักษ์ตามบัญชีของ IUCN ฉบับล่าสุด [Mace & Stuart, 1994] และสถานภาพทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย [สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, 2540] จำแนกกลุ่มของสัตว์ที่ศึกษาออกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก แบ่งสถานภาพของสัตว์ออกเป็น สัตว์ที่มีสถานภาพสูญพันธุ์ในธรรมชาติ (Extinct in the wild) สถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically endangered) สถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) สถานภาพมีแนวโน้มสูญพันธุ์ (Vulnerable) สถานภาพใกล้ถูกคุมคาม (Near threatened) สถานภาพชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น (Endemic) สถานภาพข้อมูลไม่เพียงพอ (Data deficient) และไม่อยู่ในสถานภาพถูกคุมคาม ชื่อและชนิดของสัตว์ต่าง ๆ จะอ้างอิงตาม Berry [1997] ; Cox et al. [1998]; Lekagul and McNeely [1988] และ Lekagul and Round [1991]

  2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีพของนกเขาชวา ด้วยการรวบรวมข้อมูลและศึกษาโดยตรงถึงปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่รอดและการขยายพันธุ์ ทั้งในธรรมชาติและในแหล่งเพาะเลี้ยง เช่นนิเวศวิทยาและพฤติกรรมของการหาอาหาร การเลือกที่อยู่อาศัย ศัตรูธรรมชาติ ชีววิทยาและนิเวศวิทยาการสืบพันธุ์ วิธีการเพาะเลี้ยง การดูแลรักษาโรค เป็นต้น

  3. ศึกษาปัจจัยที่อาจมีผลต่อเสียงร้องของนกเขาชวา ด้วยการบันทึกเสียงของนกเขาชวาจากแหล่งเพาะเลี้ยงและในแหล่งอาศัยตามธรรมชาติและในเมือง วิเคราะห์ลักษณะทางชีวภาพของเสียงร้องของนกเขาชวาจากแหล่งต่างๆ เปรียบเทียบกัน ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์เสียงนกจากห้องปฏิบัติการ เปรียบเทียบความแตกต่างแปรผันของเสียงตามเกณฑ์ที่ยอมรับกันว่ามีคุณภาพดี แยกแยะปัจจัยที่อาจมีผลต่อพัฒนาการของเสียงร้องของนกเขาออกเป็นสามประการ ได้แก่ ปัจจัยทางชีววิทยาและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมของแหล่งเพาะเลี้ยงและวิธีการเลี้ยง และปัจจัยทางสายพันธุ์ ศึกษาความสำคัญของแต่ละปัจจัย โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมของแหล่งเพาะเลี้ยง วิธีการเลี้ยงและบำรุงรักษาให้นกมีคุณภาพเสียงที่ดี วิธีการคัดเลือกสายพันธุ์ให้ได้คุณภาพเสียงดีและการรักษาสายพันธุ์ ตัวอย่างแบบฟอร์มเก็บข้อมูลจากแหล่งเพาะเลี้ยงแสดงไว้ในภาคผนวก E3


  1. การศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลภาคสนาม คณะผู้ศึกษาได้ทำการสำรวจใน 3 บริเวณ (ดูรูปในภาคผนวก E2) ได้แก่

  1. บริเวณพื้นที่ศึกษาที่ 1 (ทางเลือกที่ตั้งตำแหน่ง C) พื้นที่ศึกษาอยู่ในป่าละเมาะ ที่บ้านโคกสัก พิกัดประมาณ E697600 N769900 เป็นป่าละเมาะชายหาดยาวขนานไปกับถนนเลียบชายทะเลเป็นลักษณะของสังคมพืชบนสันทราย มีไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ส่วนมากเป็นไม้พุ่ม พบต้นไม้ขนาดใหญ่น้อยมาก พื้นส่วนมากเป็นทราย ด้านในสุดของพื้นที่เป็นดิน มีหนองน้ำตื้นอยู่ด้านใน มีพืชน้ำที่มียอดโผล่พ้นน้ำ เช่น กก ขึ้นปกคลุมโดยตลอด

  2. บริเวณพื้นที่ศึกษาที่ 2 (ทางเลือกที่ตั้งตำแหน่ง D8) พื้นที่ศึกษาอยู่ในป่าเสม็ด ที่บ้านปลักคุย พิกัดประมาณ E693850 N768500 เป็นลักษณะของสังคมพืชที่เคยถูกทำลายเปลี่ยนสภาพจากสังคมพืขชั้นปฐมภูมิ ปัจจุบันเป็นป่าเสม็ด ประกอบด้วยต้นเสม็ดขาวเป็นส่วนใหญ่ เป็นบริเวณที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ล้อมรอบด้วยทุ่งหญ้า ไร่และทุ่งนา บางส่วนอาจมีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก พื้นที่เป็นดินปนทรายเป็นส่วนมาก

  3. บริเวณพื้นที่ศึกษาที่ 3 (ทางเลือกที่ตั้งตำแหน่ง G) พื้นที่ศึกษาจะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บ้านในไร่ พิกัดประมาณ E693500 N772000 เป็นหนองน้ำกว้างใหญ่ล้อมรอบด้วยป่าพรุ ป่าเสม็ด ทุ่งหญ้า และไร่ พื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่ ไม่มีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีพืชน้ำหลายชนิดทั้งชนิดที่มียอดโผล่พ้นน้ำ เช่น กกและจูดหนู ชนิดที่มีใบลอยน้ำ เช่น บัว ชนิดที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ เช่น ผักตบ จอก แหน และชนิดที่จมอยู่ใต้น้ำ เช่น สาหร่ายต่างๆ ขึ้นปกคลุมโดยตลอด โดยรอบหนองน้ำมีลักษณะคล้ายป่าบึงน้ำจืด เป็นป่าเสม็ดในที่ลุ่มที่ถูกน้ำท่วมตลอดปี มีบริเวณเล็กๆ บางแห่งใกล้ชายฝั่งอาจพบป่าที่มีสังคมพืชคล้ายป่าพรุบ้าง ถัดเข้าไปด้านในเป็นป่าเสม็ดบนพื้นที่ดอน ส่วนมากพื้นแห้ง พื้นที่ลุ่มบางส่วนน้ำจะท่วมถึงเฉพาะในฤดูน้ำมาก ถัดจากป่าเสม็ดเข้าไปบนบกเป็นทุ่งหญ้าบนพื้นดินทราย มีไม้พุ่มขึ้นกระจัดกระจาย ร้อนและแห้งแล้งมากในฤดูแล้ง ชื้นแฉะในฤดูฝน บางส่วนของทุ่งหญ้ามีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ต้นยางวาด ถัดจากทุ่งหญ้าเข้าไปด้านสุดเป็นไร่แตงโม พื้นเป็นดินปนทรายโดยตลอด พื้นที่ที่ยังไม่ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นไร่แตงโมเป็นป่าเสม็ด

การศึกษาเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2542 อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมายังคงมีฝนตกมากเป็นระยะๆ ไม่มีช่วงใดที่มีความแห้งแล้งยาวนานดังเช่นในปีที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. 2541)

5 การศึกษาประวัติวิวัฒนาการของสังคมพืชโดยดูจากละอองเรณูที่สะสมอยู่ในชั้นดินและเปรียบเทียบกับละอองเรณูของพืชที่พบในปัจจุบัน ซึ่งต้องอาศัยเวลาการศึกษายาวมาก

6 ติดต่อเป็นการส่วนตัว

7 IUCN = The World Conservation Union บัญชีรายชื่อสัตว์กลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย ที่ปรากฏในสถานภาพต่างๆ ตามเกณฑ์ของ IUCN แสดงไว้ในภาคผนวก E4

8 ทางเลือก D และ G ในการศึกษาขั้นต่อมา ได้ถูกตัดออกไปแล้ว แต่ยังคงนำข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ป่ามาใช้ประโยชน์



Verilənlər bazası müəlliflik hüququ ilə müdafiə olunur ©atelim.com 2016
rəhbərliyinə müraciət